ผลของการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษสู่สากล 1 โรงเรียนห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (2) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อคอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2546). กระบวนการเรียนรู้และยุทธศาสตร์การเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเม้นท์ จํากัด.
เกรียงไกร วงค์จันทร์เสือ. (2554). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA). (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ชวาลา สมถวิล. (2551). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อวิธีสอนอ่านแบบ MIA และSQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
ณัฏฐนิกานต์ ทองโคตร. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
เบญจวรรณ อ่วมมณี. (2549). การพัฒนาผลการเรียนรู้และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
เพียงฤทัย เทพอักษร. (2558). การศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA). (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร-มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.
สุนีย์ สันหมุด. (2552). ปัญหาด้านการอ่าน. สืบจาก http://www.gotoknow.org/
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2560) . ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2560 บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เสาวนีย์ ธนะสาร. (2553). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความและความสนใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านจากการสอนอ่านตามแนวการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
อุชุพร บถพิบูลย์. (2550). ผลของวิธีการสอนแบบ MIA ที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษและพฤติกรรมในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
อำภา วิฬุวัน. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยวิธีการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค(MIA) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
Bartelletete, L. (1991). Teacher development through reflective teaching from second language teacher education. New York: Cambridge University Press.
Goodman, K.S., & Niles, O. (1973). Reading process and program. Illinois: National Council of Teacher in English.
Miller, W. (1990). Reading comprehension activities kit. The United State of America: The Center for Applied Research in Education.
Murdoch, G.S. (1986). A more integrated approach to the teaching of reading. English Teaching Forum. 34(1), 9-15.
Ryder, R.J., & Graves, M. F. (1994). Reading centers fluency practice. Cambridge: Cambridge University Press.
Wall, U. (2005). The preferred learning style and strategies of adults Thai EFL students in Bangkok business setting. Retrieved from http://www.besig.org/link.htm
Widdowson, H. G.(1979). Teaching language as communication. London: Oxford University.