การพัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนผ่านกระบวนการวิจัย ในชั้นเรียนของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม 2) ศึกษาความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน และ 3) ศึกษาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน 2) แบบวัดความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน และ 3) แบบประเมินความสามารถด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน ผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน มีจำนวน 9 แผนการเรียนรู้ 2) นักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรมมีความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดี และ 3) นักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรมมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับดี
Article Details
References
จุฑามาส ศรีจำนง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(1), 126 – 144.
ประภัสสร วงษ์ดี, เสกสรร แย้มพินิจ, โสพล มีเจริญ และวิชชา ฉิมพลี. (2559). การวิเคราะห์หาประสิทธิผลรูปแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 39(4), 597-614.
พรทิวา ยืนยง. (2553). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, สกลนคร.
พรรณวดี ศิริวัฒนานุรักษ์. (2558). แนวทางการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของครูเพื่อตอบสนองหลักสูตรสถานศึกษาบูรณการอาเซียน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเวียงพาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(21), 1-16.
รินรดี พรวิริยะสกุล. (2554). การวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาผ่านการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครู. (วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: การวิจัยกรณีศึกษา. (วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.) สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุชีลา อุมะวรรณ. (2551). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการทำวิจัยทางสาธารณสุขของบุคลากร ในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, สกลนคร.
สุบรรณ์ จำปาศรี. (2552). กระบวนการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูกรณีศึกษาโรงเรียนบ้านหนองครก อำเภอสตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557) ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Craig, S. W. & James, A. W. (2003). An instructor’s guide to understanding test reliability. Madison: Testing and Evaluation Services, University of Wisconsin.