การพัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์ เพื่อลดปัญหาด้านจิตใจในนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีแนวโน้มลาออกกลางคัน ในระบบการศึกษาทางไกล

Main Article Content

จิระสุข สุขสวัสดิ์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาด้านจิตใจและความต้องการรูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์เพื่อลดปัญหาด้านจิตใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีแนวโน้มลาออกกลางคันในระบบการศึกษาทางไกล และ 2) พัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่มีแนวโน้มลาออกกลางคันในทุกสาขาวิชาและทุกชั้นปี จำนวน 154 คน และระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่มีคะแนนปัญหาด้านจิตใจทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางและมีเงื่อนไขตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน  40 คน แบ่งเป็นนักศึกษากลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และนักศึกษากลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการรูปแบบการปรึกษา 2) มาตรวัดปัญหาด้านจิตใจ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 3) รูปแบบการปรึกษามีคะแนนจากการประเมินคุณภาพของผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับดีถึงดีมาก และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจการใช้รูปแบบการปรึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบวิลคอกซัน และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาด้านจิตใจอยู่ในระดับมากถึงระดับรุนแรง โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการรูปแบบบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์เป็นรายบุคคลด้วยวิธีการสนทนาแบบไม่เห็นหน้าและการรับส่งข้อความผ่านเว็บไซต์และ 2) รูปแบบการปรึกษาที่พัฒนาขึ้นให้บริการผ่านเว็บไซต์ https://www.estou-counseling.com/ โดยมีการให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบออนไลน์ จำนวน 4 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละ 45-60 นาที มีกระบวนการ 3 ขั้น คือ ขั้นเริ่มต้นการปรึกษา ขั้นดำเนินการ และขั้นยุติการปรึกษา และนักศึกษากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการปรึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
สุขสวัสดิ์ จ. (2020). การพัฒนารูปแบบการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์ เพื่อลดปัญหาด้านจิตใจในนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีแนวโน้มลาออกกลางคัน ในระบบการศึกษาทางไกล. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 13(2), 58–74. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/edjour_stou/article/view/246782
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2561, 9 กันยายน). กรมสุขภาพจิตเผยคนไทยคิดสั้น ชม. ละ 6 คน ห่วงภัย ความเคยชินวิถีชีวิตที่เร่งรีบ “ควิก-ควิก” จะทำให้เกิดการยั้งคิด. สืบค้นจาก https://th.rajanukul.go.th/preview-3039.html

กรมสุขภาพจิต. (2562). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท ละม่อม.

ขจิตพรรณ มกระธัช และปิยพร นุรารักษ์. (2555). การพัฒนาระบบกระดานสนทนาให้บริการปรึกษาสำหรับนักศึกษาทางไกลของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/Schools/sst/main/KM/KM-Research/DS-SOS.pdf

ขนิษฐา มีเสือ. (2556). ประสบการณ์การแสวงหาความช่วยเหลือด้านจิตใจผ่านทางอินเทอร์เน็ตของวัยรุ่น: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/42625/1/5378255338.pdf

ฉันทนา แรงสิงห์ และสถิต วงศ์สุรประกิต. (2557). ปัจจัยทางสุขภาพจิตที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, พยาบาลสาร, 41(1). 112-132.

ธณิดา พุ่มท่าอิฐ, รังสรรค์ มาระเพ็ญ และอริยา ดีประเสริฐ. (2562). ภาวะสุขภาพจิตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2), 172-186.

นภารัตน์ กิตติรัตนมงคล. (2558). การเพิ่มจำนวนนักศึกษาและการรักษาจำนวนนักศึกษาไม่ให้ออกกลางคันในการศึกษาระดับปริญญาโทของสาขาวิชารัฐศาสตร์. สืบค้นจาก http://ird.stou.ac.th/Researchlib/ 2558_008

นวรัตน์ การะเกษ และวรุณกันยา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail

ภาคภูมิ ธีรสันติกุล, จิระสุข สุขสวัสดิ์ และลัดดาวรรณ ณ ระนอง. (2562). ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบรายบุคคลโดยใช้วิธีออนไลน์เพื่อพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 12(1), 71-84.

วินีกาญจน์ คงสุวรรณ และวิลาวรรณ คริสต์รักษา. (2563). ผลของการให้การปรึกษารายกลุ่มแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางต่อสุขภาพจิตและความสุขของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), 13-25.

สมเกียรติ ไทยปรีชา. (2553). การศึกษาวิธีการปฏิบัติที่ดีของการลดปัญหาการออกกลางคันของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ระหว่างปีการศึกษา 2549-2553. สืบค้นจาก http://esd.kps.ku.ac.th/kuk-conference/img/gallery/article_8/pdf/p_human03.pdf

สำนักทะเบียนและวัดเผล มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2561). รายงานสถิตินักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีแนวโน้มลาออกกลางคัน. เอกสารรายงานของสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

สำนักบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2563). วิสัยทัศน์และพันธกิจ. สืบค้นจากhttps://oes.stou.ac.th/guide/

สุมาลี สังข์ศรี. (2560). รูปแบบการจัดบริการการศึกษาเพื่อช่วยให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเรียนได้ประสบผลสำเร็จในระบบการศึกษาทางไกล. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 10(2), 65-78.

สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์ และอรัญญา ตุ้ยคำภีร์. (2560). การส่งเสริมสุขภาวะในนิสิตปริญญาตรีด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลแบบออนไลน์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 9(2), 56-72.

อรนุช กาญจนประกร. (2562, 19 มกราคม). รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายแนะแนวการศึกษา [บทสัมภาษณ์].

Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155-159.

Lovibond, P. F., & Lovibond S. H.. (1995). The structure of negative emotional states: Comparison of the Depression Anxiety Stress Scales (DASS) with the Beck Depression and Anxiety Inventories. Behaviour Research and Therapy, 33(3), 335-343.