นวัตกรรมการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในการพัฒนา ทักษะการเขียนและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ทักษะการเขียนและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือการวิจัย คือ แผนการสอน แบบประเมินด้วยรูบริคหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อการสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 421-311 สถิติเพื่อการวิจัยสำหรับนักสารสนเทศ จำนวน 21 คน เลือกแบบเจาะจง โดยได้รับการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีกิจกรรมการเขียนบรรยายผล และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีแบบทดสอบหลังเรียน ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 9 สัปดาห์ 27 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนการเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย โดยนวัตกรรมการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการสอน นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก และนักศึกษามีความคิดเห็นว่าเกณฑ์การประเมินด้วยรูบริคมีความเหมาะสม และมีผลต่อการเรียนรู้ ความตั้งใจ และการวางแผนในการเรียน ตลอดจนการพัฒนาตัวเองด้านทักษะการเขียนและการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปรัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กชกร ณ นครพนม และ ปิยพร นุรารักษ์. (2556). การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการศึกษาชุดวิชาคณิตศาสตร์และสถิติสำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 3(1), 68-84.
กมลทิพย์ ศรีหาเศษ, สุวิมล ติรกานันท์, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ, พนิดา พานิชวัฒนะ, รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์, จุฑามาศ แสงงาม,ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์,สิริรัตน์ หิตะโกวิท, และ เยาวภา แสนเขียว. (2563). การจัดการสอนและวิธีการวัดผลสัมฤทธิ์ในการจัดการสอนออนไลน์ระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(2), 40-51.
จตุภูมิ เขตจัตุรัส และ สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2559). ผลการพัฒนาสมรรถนะด้านสถิติเพื่อการวิจัยของนักศึกษาบัณฑิต ศึกษาโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(2), 87-96.
จิรัชยา เจียวก๊ก, สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์, และ นวพล แก้วสุวรรณ. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการศึกษาอิสระและการสัมมนาของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 15(1), 102-116.
ดวงจันทร์ แก้วกงพาน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(2), 225-239.
พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 62-70.
พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ และ ศุภลักษณ์ สินธนา. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 161-170.
มณฑา ชุ่มสุคนธ์ และนิลมณี พิทักษ์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในการสอน รายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 39(4), 41-52.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2552). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.
สินธะวา คามดิษฐ์. (2557). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในระดับอุดมศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 28(85), 9-21.
อัญชลี ทองเอม. (2561). การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษะการทำวิจัยของนักศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32(104), 40-54.
อาฟีฟี ลาเต๊ะ. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสถิติและทักษะการวิจัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(2), 120-132.
Lateh, A. (2017). Using research based learning in statistics course to develop the students’ research skills and 21st century skills. International Journal of Learning and Teaching, 3(1), 23-38.
Koehler, M.I., & Mishra, P. (2008). Introducing TPCK. In: AACTE Committee on Innovation and Technology, eds., Handbook of technological pedagogical content knowledge (TPCK) for educators. Routledge.