รูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i2.122237บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน 2. สร้างรูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน 3. ประเมินรูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 532 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามเกี่ยวกับทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.978 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิในการให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ จำนวน 9 ท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 17 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลวิเคราะห์องค์ประกอบ ยืนยันทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน ทั้ง 6 องค์ประกอบ ซึ่งได้แก่ 1. ด้านเครือข่ายทางสังคม 2. ด้านความรับผิดชอบ 3. ด้านความไว้วางใจ 4. ด้านวัฒนธรรมองค์กร 5. ด้านการสื่อสาร 6. ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
- รูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน เป็นโครงสร้างที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบองค์ประกอบยืนยันทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน 2 กลุ่ม ซึ่งมี 6 องค์ประกอบ คือ กลุ่มองค์ประกอบภายในองค์กร ได้แก่ ความรับผิดชอบ วัฒนธรรมองค์กร ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน กับกลุ่มองค์ประกอบภายนอกองค์กร ได้แก่ เครื่อข่ายทางสังคม ความไว้วางใจ การสื่อสาร ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบจะมีแนวทางในการพัฒนาทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน
- ผลประเมินรูปแบบการพัฒนาทุนทางสังคมของปราชญ์ชาวบ้าน พบว่า ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว