การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ผู้แต่ง

  • Neranart Chulniam

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133194

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม, ความฉลาดทางอารมณ์, นักศึกษาสหกิจศึกษา, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  ศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์และประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ ใช้การวิจัยกึ่งทดลอง ตามแนวคิดของ (Tyler) ในนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ลงทะเบียนภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ที่มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ต่ำกว่า 140 คะแนน จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสหกิจศึกษา มีองค์ประกอบ เช่น สภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายหลักสูตร หน่วยการฝึกอบรม กิจกรรมฝึกอบรม สื่อ และการวัดประเมินผล  เพื่อให้เกิดสมรรถนะ 3 ด้านคือ การเข้าใจตนเอง การเข้าใจผู้อื่น และการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตร เท่ากับ  4.69  และค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรโดยรวม เท่ากับ 0.98  และผลการประเมินการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนวัดความฉลาดทางอารมณ์  ภายหลังการฝึกอบรมสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 และมีความ
พึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ค่าเฉลี่ย 4.55 อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018

How to Cite

Chulniam, N. (2018). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะความฉลาดทางอารมณ์ ของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 25–34. https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133194