กระบวนการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ ชุด สักการะเทวราช

ผู้แต่ง

  • Jintana Saitongkum

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133200

คำสำคัญ:

นาฏศิลป์สร้างสรรค์, สักการะเทวราช

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องกระบวนการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์  ชุด สักการะเทวราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ชุด สักการะเทวราช บันทึกเป็นองค์ความรู้ด้านนาฏศิลป์ไทย ดำเนินการวิจัยโดย การศึกษาจากเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์การแสดง ขั้นตอนการสร้างสรรค์งาน บันทึกกระบวนท่ารำ และจัดประชุมกลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่า ขั้นตอนการสร้างสรรค์งานมี   7 ขั้นตอนคือ 1) การสร้างแนวคิดของการแสดง 2) สร้างสรรค์ทำนองเพลง ดนตรีประกอบการแสดง 3) คัดเลือกผู้แสดง 4) ออกแบบกระบวนท่ารำ 5) ออกแบบประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย ศิราภรณ์และเครื่องประดับ 6) นำเสนอผลงานสร้างสรรค์ต่อผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ 7) เผยแพร่การแสดงสู่สาธารณชน ทั้งนี้กระบวนท่ารำสื่อความหมาย 3 ช่วงคือ   1) การเข้าสู่พระราชพิธี 2) การเข้าสู่ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา 3) การถวายพระพรแสดงความจงรักภักดี  ในด้านการออกแบบแถวในการแสดงมี 5 ลักษณะคือ แถวขนานกับผู้ชม แถวทแยงมุม แถวแบบสมดุลและไม่สมดุล แถวแบบกลุ่ม และแถวตอน หรือแถวคู่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018

How to Cite

Saitongkum, J. (2018). กระบวนการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ ชุด สักการะเทวราช. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 103–117. https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133200