การพัฒนารูปแบบที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการติดตามเด็กหาย

ผู้แต่ง

  • Withilak Chantanasombat

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133221

คำสำคัญ:

กลไกของกฎหมาย, เครือข่ายการติดตาม, การติดตามเด็กหาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบกลไกของกฎหมาย การมีส่วนร่วม การบริหารจัดการ เครือข่ายการติดตาม ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการติดตามเด็กหาย ใช้วิธีวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการติดตามเด็กหาย กำหนดไว้ 15 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เป็นตำรวจ 11 หน่วยงาน หน่วยงานภาครัฐที่ไม่ใช่ตำรวจ 3 หน่วยงาน และหน่วยงานภาคเอกชน 1 หน่วยงาน มีรูปแบบการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แนวความคิดเห็น ซึ่งใช้การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ผู้ศึกษาสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เหตุผลและหลักเกณฑ์ในการเลือกจากหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในการติดตามเด็กหายจากผู้บริหารซึ่งได้ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า การคุ้มครองสวัสดิภาพ    เด็กหายต้องอาศัยกลไกของกฎหมาย การมีส่วนร่วมต้องอาศัยการให้ข้อมูลและการตัดสินใจ การบริหารจัดการต้องอาศัยบุคลากรและฐานข้อมูล เครือข่ายการติดตามต้องอาศัย ภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ และประสิทธิภาพในการติดตาม    เด็กหายต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและการวางแผนงาน         

ข้อค้นพบจากการวิจัย พบว่า การค้ามนุษย์ และนิติวิทยาศาสตร์ เป็นกลไกของกฎหมายที่สำคัญจะทำให้เกิดการช่วยเหลือติดตามเด็กหาย การตัดสินใจและการให้ข้อมูล คือกระบวนที่สำคัญการมีส่วนร่วมของบุคคล      ในชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการด้านบุคลากรควรมีการพัฒนาองค์ความรู้ แต่ละหน่วยต้องสร้างบุคลากรขึ้นมาทำงานโดยเฉพาะ มีศูนย์กลางการจัดการบริหารข้อมูล หรือศูนย์ติดตามคนหายแห่งชาติเกิด สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายถึงกันทั่วประเทศ มีหน่วยงานภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการสนับสนุนประชาสัมพันธ์ข่าวสาร            และประสิทธิภาพการในการติดตามเด็กหาย เจ้าหน้าที่ต้องมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญงาน มีประสบการณ์ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลข้อเท็จจริงและวางแผนดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน มีแผนงาน แผนที่ดีควรมีความสอดคล้องครอบคลุมกับเครือข่ายและมีความเข้าใจร่วมกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018

How to Cite

Chantanasombat, W. (2018). การพัฒนารูปแบบที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการติดตามเด็กหาย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 159–172. https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133221