ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา กองทุนที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชน ในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • Nathachon Wongkham

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133223

คำสำคัญ:

กองทุนหมู่บ้าน, การนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ, ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ                   โดยที่กรณีศึกษาคือ กองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัย    ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า มีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านความชัดเจนของนโยบาย 2. ปัจจัยด้านการสื่อสารขององค์การ 3. ปัจจัยด้านศักยภาพ               ขององค์การ 4. ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้นำนโยบายไป 5. ปัจจัยด้านการประสานความร่วมมือ

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่  สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)              ต้องสร้างมาตรฐานโปรแกรมคอมพิวเตอร์และต้องอบรมคณะกรรมการ ต้องสร้างมาตรฐานการทวงหนี้และ                   สร้างความรู้ให้แก่คณะกรรมการ ต้องเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ สทบ. คู่มือการประเมินผลการดำเนินงานต้องมีตัวชี้วัดเป็นวัตถุวิสัย คณะกรรมการกองทุนจะต้องทบทวนระเบียบของกองทุนเสมอ และจะต้องมีนโยบายจัดอบรม                ให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกแก่สมาชิก รวมไปถึงสร้างความเข้าใจถึงผลเสียจากการไม่ชำระหนี้คืน นอกจากนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอเชิงปฏิบัติ ได้แก่ คณะกรรมการกองทุนจะต้องเป็นคนดีและคนเก่ง รัฐต้องประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนอย่างมีมาตรฐาน โดยอาศัยหลักธรรมาภิบาล การพิจารณาปล่อยเงินกู้จะต้องยึดตามระเบียบ                      อย่างเคร่งครัด คณะกรรมการและสมาชิกจะต้องสื่อสารกันบ่อยครั้ง ประธานกองทุนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีธรรมาภิบาล มีภาวะความเป็นผู้นำสูง รวมไปถึงเสียสละและอุทิศตัวเพื่อชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018

How to Cite

Wongkham, N. (2018). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา กองทุนที่ได้รับการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชน ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 187–200. https://doi.org/10.53848/irdssru.v10i1.133223