การขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบุรี : กรณีศึกษาชุมชนนาพันสาม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • Ubolwan Suanmalee คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • Thippawan Juliratchaneekron
  • Sanprasert Panniem

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.158620

คำสำคัญ:

Napansam community, cultural community, cultural map, cultural entrepreneur

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่องการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษาชุมชนนาพันสาม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมในตำบลนาพันสามผ่านความร่วมมือกับภาคีหลัก อาทิ ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายศิลปินในพื้นที่ และภาคเอกชน และเพื่อสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่จะนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมร่วมกับภาคีเครือข่าย จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนนาพันสามผู้วิจัยพบวัฒนธรรมหลายประการ นำมาจัดกลุ่มภายใต้กรอบแนวคิดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 6 ด้าน ได้แก่ วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา (นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า) ศิลปะการแสดง (เพลงเรือ เห่เรือบก ระบำวัวลาน หนังตะลุง) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (ประเพณีทางศาสนา พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำนาข้าว ศาลประจำหมู่บ้าน ความเชื่อ)  ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (อาหารท้องถิ่น ขนมหวาน การแพทย์พื้นบ้าน) งานช่างฝีมือดั้งเดิม (จิตรกรรม สถาปัตยกรรม บ้านทรงไทย จักสาน กลองยาว) การละเล่นพื้นบ้าน กีฬา และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (วัวลาน) จากนั้นนำมาจัดทำเป็นแผนที่ทางวัฒนธรรมชุมชนนาพันสาม ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีวัดนาพรมเป็นศูนย์กลางของชุมชน วัดนาพรมจึงเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและเป็นความภาคภูมิใจของคนในชุมชน การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมชุมชนนาพันสามจึงเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของชุมชนตลอดจนสามารถนำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมของชุมชนต่อไป

References

Napansam Subdistrict Administration Organization. (2016). Slogan of Napansam Subdistrict. Retrieved [December 18, 2016]. from
https://www.napansam.go.th/

Phrabaidika Suphot Tabaselo. (2018). The Community Sustainable Development: The Correlation between the Sufficiency Economy Community and the Sila 5 village in Ubonratchathani, Sisaket, Buriram and Surin. Journal of MCU Peace Studies. 6 (1), 116-128.

Phrakhu Samu Chaowalit Mahapanyo, Pengkaew, L., Chamchan, B., and Kaentakhian, S. (1989). Phrakhu Watcharathammachot (Thiep Thitachotiko) Cremation volumes. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya.

Rodsin, S. (2011). Community Strength: A Case of Pangjampee Village, Huay-Kaew District, Mae-On, Chiangmai. A Thesis for the Master Degree of Public Administration, Program of Public Administration, Graduate School, Silpakorn University.

Sungsri, S. (2013). A Guideline for Developing Thai Society to Be A Learning Society. STOU EDUCATION JOURNAL. 6 (2), 33-46.

Tiyawongsuwan, S., Harnpachern, R., and Kavisarasai, S. (2014). A Study on Integration of Provincial Potential Development: Case Study of Bueng Karn Province. NAJUA Architecture, Design, and Built Environment. 28, 299-319.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-04-2019

How to Cite

Suanmalee, U., Juliratchaneekron, T., & Panniem, S. (2019). การขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดเพชรบุรี : กรณีศึกษาชุมชนนาพันสาม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(1), 22–31. https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.158620