การออกแบบลวดลายผ้าเพื่อต่อยอดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ จากข้อมูลท้องถิ่นวัฒนธรรม จังหวัดเพชรบูรณ์
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.158623คำสำคัญ:
design, pattern, fabric, capped products, creative fabric patternsบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ริเริ่มจากความประทับใจในลวดลายผ้าพื้นถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ศึกษาและเล็งเห็นถึงความงดงามของผ้าทอฝ้ายที่เกิดจากสีธรรมชาติ ซึ่งเป็นอาภรณ์นุ่งห่มที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน จึงปรารถนาที่จะสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบร่วมกับงานวิจิตรศิลป์ สร้างรูปแบบและคุณค่าของลายผ้าทอดั้งเดิมที่เกิดจากการขัดกันของเส้นด้าย นำมาสร้างใหม่เป็นลวดลายที่เกิดจากสี และต่อยอดนำไปสู่ประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบลวดลายผ้าด้วยเทคนิคจิตรกรรมจากข้อมูลท้องถิ่นวัฒนธรรมของจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่อยอดจากผ้าทอดั้งเดิมของเมืองเพชรบูรณ์และเพื่อเป็นต้นแบบให้กับผู้ที่สนใจนำไปประกอบอาชีพสืบไป โดยการนำผ้าทอสีพื้นขาวที่สามารถซึมซับสีเฉดต่างๆ ได้ดี มาสร้างลวดลายด้วยกระบวนงานจิตรกรรม ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากข้อมูลทางสุนทรียภาพ ความงามทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ มรดกวัฒนธรรม และได้ตระหนักถึงคุณค่าความงดงามทางด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การสร้างคุณค่าทางศิลปะและการอนุรักษ์ท้องถิ่นวัฒนธรรม ทั้งสามารถเป็นแหล่งทัศนียภาพผ่านผลงานลวดลายผ้าที่มีเนื้อหาของเอกลักษณ์ท้องถิ่นและวิถีชีวิต จากข้อมูลจึงนำสู่มาจินตนาการลวดลายไทยประยุกต์ ที่บ่งบอกถึงความเป็นพื้นถิ่นเพชรบูรณ์ ผลงานชุดนี้บรรลุวัตถุประสงค์และแนวความคิด ข้าพเจ้าสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ถ่ายทอดรูปลักษณ์ถึงจังหวัดเพชรบูรณ์และเป็นแนวทางในการต่อยอดของผู้ที่สนใจสืบไป
References
Institute for Small and Medium Enterprises Development. (2013). Enhancing the product cost and design. Retrieved 10 September 2016 from http://www.ismed.or.th.
Khumtuen, P. (1980). Phetchabun Folk Fables. A Report of Independent Study of Thai program. Phetchabun Rajabhat University, Phetchabun.
Klaisuban, P. (1988). Folk culture. Bangkok: Sutthisan Press.
Noiwangklung, P. (2001). Arts in local areas. Mahasarakham University: the Faculty of Fine and Applied Arts Program in Visual and Performing Arts.
Kanchanakun, S. (1992). Sen sai lai Thai. Bangkok: Chalermchai Publishing.
Jarungjitshunthorn, W. (2006). Theory & concept of design. Bangkok: Idesign Publishing.
Saihu, P. (1998). Social and cultural study concepts: Thai Studies. Nonthaburi: The Office of the University Press Sukhothai Thammathirat Open University.
Soodsang, N. (2005). Industrial design. Bangkok: Odeon Store.
Textile Museum Naresuan University. (2007). Data of Thai textiles in Lower Northern: Phetchabun clothing. Retrieved 10 September 2016 from http://www.openbase.in.th/node/
Thanarutsarit, S. (2007). Thai arts. Bangkok: Chalermchai Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว