การจัดการซัพพลายเชนและการให้บริการของการท่องเที่ยวตลาดน้ำลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.158624คำสำคัญ:
แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานซัพพลายเชน, ส่วนประสมทางตลาดบริการบทคัดย่อ
ตลาดน้ำลำพญาเป็นตลาดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำท่าจีน เป็นตลาดที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในละแวกนี้ ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตรปลูกพืชผักผลไม้ โดยการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการซัพพลายเชนของร้านค้าในตลาดน้ำลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตามแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานซัพพลายเชน (SCOR Model) และศึกษาถึงส่วนประสมทางการตลาดบริการ (The Service Marketing Mix : 7Ps) ของการท่องเที่ยวตลาดน้ำลำพญา โดยทำการสังเกตแบบไม่เป็นทางการ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าของร้านค้าในตลาดน้ำลำพญาจำนวน 30 คน และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวตลาดน้ำลำพญาจำนวน 60 คน รวมถึงเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหลายแหล่งทั้งภายในและภายนอกตลาดน้ำลำพญา
ผลการศึกษาพบว่าร้านค้ามีการวางแผนโดยใช้ประสบการณ์ และการคาดเดาจากยอดขายและสภาพอากาศ (Qualitative Forecasting) และมีการจัดหาวัตถุดิบจากสวนของชาวบ้านเองโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงมีการผลิตแบบสดใหม่ทุกวัน โดยลูกค้าสามารถซื้อสินค้าภายในตลาดเท่านั้น ไม่มีการจัดส่ง และยังมีกระบวนการรับคืนสินค้าในกรณีสินค้าชำรุดซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของทางร้านเท่านั้น ทั้งยังทราบถึงแนวทางการให้บริการของการท่องเที่ยวตลาดน้ำลำพญา ว่าควรพัฒนาปรับปรุงแพไม้ที่ชำรุดและมีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ รวมถึงตลาดน้ำลำพญาควรมีเส้นจอดรถและเส้นทางเดินเท้าที่ชัดเจน เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ตลาดควรจัดอบรมในเรื่องของพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ซึ่งจะทำให้เป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คือ ถนนที่เชื่อมกับชุมชนหรืออำเภอใกล้เคียงให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น
ควรปรับปรุงสถานที่ให้มีความสะอาด เพิ่มพื้นที่ถ่ายรูปริมแม่น้ำที่มีวิวสวยๆ เนื่องจากพบว่าการถ่ายรูปเป็นที่ชื่นชอบและดึงดูดนักท่องเที่ยวและส่งเสริมการขายอีกหนึ่งช่องทาง ควรมีการจัดตั้งเจ้าหน้าที่แต่งละฝ่ายเพิ่มมากขึ้น เช่น ฝ่ายประชาสัมพันธ์
ฝ่ายการตลาดและพัฒนา เป็นต้น ควรเพิ่มเที่ยวการให้บริการของรถสาธารณะที่มีอยู่สายเดียวเท่านั้น และตู้กดเงินสดที่มีอยู่เพียงตู้เดียว ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวและการเข้าถึงตลาดได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ เช่น ห่วงยาง, เสื้อชูชีพ เป็นต้น และควรปรับปรุงระบบการพัฒนาตลาดให้มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันทั้งระบบ
References
Lohapoontrakul, Ch. (2008). Devlopment and problem solving of a community by community based tourism management : A case study of Bangnamphung Floating Market, Phrapadaeng District, Samut Prakan Province. Huachiew Chalermprakiet University.
Plod Nui, S. (2013). The development of logistics and supply chain management of Amphawa Floating Market, Samut Songkhram Province. Bangkok. Ramkhamhaeng University.
Phiw Nim, M, et al. (2003). The development and impact of floating market community. Bangkok. The Thailand Research Fund.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว