รูปแบบการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรสู่การทำเกษตรอินทรีย์

ผู้แต่ง

  • Nathanan Wiriyawit Phranakhon Rajabhat

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.159281

คำสำคัญ:

การสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม, เกษตรอินทรีย์, ผลไม้อินทรีย์, การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง, ชุมชนบ้านจำรุง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรสู่การทำเกษตรอินทรีย์ของชุมชนบ้านจำรุง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research--PAR) โดยมีการแบ่งทีมวิจัยเป็น 2 ทีม ทีมแรก ได้แก่ ทีมวิจัยวิชาการ ประกอบด้วยอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และทีมที่สองได้แก่ ทีมวิจัยชุมชน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอำเภอแกลง และเกษตรกร โดยมีขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลดังนี้ ขั้นที่หนึ่งคือการสำรวจสภาพทุนของชุมชน ขั้นที่สองคือ การศึกษาปัญหาการทำเกษตรอินทรีย์ของชุมชน ขั้นที่สาม คือ การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรสู่การทำเกษตรอินทรีย์ และขั้นที่สี่คือ การเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ ในส่วนของการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกต การอภิปรายกลุ่ม การจัดเวทีชุมชน และการใช้เครื่องมือสำรวจชุมชน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรสู่การทำเกษตรอินทรีย์เป็นการสื่อสารสองทางแบบสมดุล  ทำให้เกษตรกรตัดสินใจเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์ และได้จัดตั้งโครงการ “ผลไม้อินทรีย์” ขึ้นภายในชุมชนในที่สุด

References

Kaew Thep. K. et all. (2000). Community Media: Knowledge Processing. Bangkok: Thailand Research Fund (TRF).

Kaew Thep. K. et all. (2008). Communication-Environment. Bangkok: PhapPhim.

Kwangkiri, P. (2008). Community radio and enhancing the efficiency of communication for community organization development: Case study: Ban Chamrung, Moo 7, Noen Kho Subdistrict, Kaeng district, Rayong province. Thesis for Master degree in Community development curriculum, Thammasat University.

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2015). Ministry of Agriculture Driven the national organic development strategy to promote and development product image of Thai organic agriculture services to be known both at home and aboard. Retrieved from https://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=14666 [Auguest 12, 2016]

Roonkasem, N. et all. (2015). Public participation in capacity contribution for community tourism: case studies, homestays, Ban Chanrung, Rayong province. Research granted by Phranakhon Rajabhat University.

Srimuk, S. (2013). The impact of the use of agricultural chemicals in Thailand. Retrieved : http://library.senate.go.th/document/Ext6409/6409657_0002.PDF

Sunlayakhamjon, W. (2015). Another voice from consumers. Retrieved: https://www.facebook.com/Thamturakit/photos/a.512303725512084.1073741830.425300194212438/878393888903064/?type=1&theater [September 8, 2015]

Thipparat, S. (2011). Development of organic
agriculture communication of Pakasit Park (The Crown Property Bureau) with participation in the case of Ban Nong Bua, Mueang Ngai Subdistrict, Chiang Dao District, Chaiangmai Province. Thesis for Master of Science degree in Sustainable Social Landscape Development. Maejo University.

Viriyawity, N. (2017). Communication strategy for promoting organic farming with participation of Ban Chamrung community, Klaeng district, Rayong provice. Journal of the Researchers Association. 22 (2), 154-1164.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-04-2019

How to Cite

Wiriyawit, N. (2019). รูปแบบการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรสู่การทำเกษตรอินทรีย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(1), 98–104. https://doi.org/10.53848/irdssru.v11i1.159281