แนวทางการพัฒนารูปแบบแหล่งท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน จ.สมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ แสงจำนงค์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212639

คำสำคัญ:

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, เกณฑ์มาตรฐาน, คุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

บทคัดย่อ

การศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนารูปแบบแหล่งท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคนจ.สมุทรสงครามนั้นเป็นการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและจัดทำแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้มีความพร้อมต่อการขอรับการรับรองมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวจากนั้นนำแนวทางที่ได้มาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวมีความพร้อมและสามารถขอรับการรับรองมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาซึ่งกระบวนการศึกษาทำโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพอธิบายสภาพการณ์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงณวันที่ทำการศึกษาโดยการสำรวจแหล่งท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงแบบเจาะลึกเล่าเรื่อง(Narrative Interview) กับแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สรุปผลเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาพบว่าศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคนมีศักยภาพและคุณภาพสูงในทุกด้านโดยมีคะแนนรวมในระดับดีเยี่ยมโดยเฉพาะในองค์ประกอบด้านศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งจะว่าด้วยเรื่องการดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวอันเป็นกุญแจสำคัญสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนการวิจัยไดเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวครอบคลุมประเด็นที่เป็นจุดอ่อนในแหล่งท่องเที่ยวและจากนั้นนำแนวทางที่ได้เสนอแนะผู้ที่เกี่ยวข้องได้แก่สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและหัวหน้าชุดวิจัยเพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

References

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. 2542. การวางแผนพัฒนาการ

ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่. สำนักพิมพ์คณะ

มนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.

สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2551 จาก

http://www.nayokcity.go.th/law004.htm

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2545). จิตวิทยาสังคม:ทฤษฎี

และปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ :สุริยสาส์น.

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2546). จิตวิทยาสังคม :

ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). รูปแบบการท่องเที่ยวแบบ

ยั่งยืนของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารราชภัฏเพชรบุรี,

มปท.

Butler, Judith. (1990). Gender Trouble: Gender

Trouble: Feminism and the Subversion of

Identity. London : Routledge.

Edward Inskeep. (1987). Environmental Planning

for Tourism. Journal of Travel Research, 26: 43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2019

How to Cite

แสงจำนงค์ ส. (2019). แนวทางการพัฒนารูปแบบแหล่งท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนคลองโคน จ.สมุทรสงคราม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 60. https://doi.org/10.53848/irdssru.v2i1.212639