การศึกษาการใช้พื้นที่ว่างระหว่างอาคารในเชิงพาณิชยกรรม
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214157คำสำคัญ:
พื้นที่ว่าง อาคาร ระหว่างอาคาร พาณิชยกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นมา ลักษณะกิจกรรม และพฤติกรรมการใช้พื้นที่ว่างระหว่างอาคารในเชิงพาณิชยกรรมของพื้นที่ย่านเยาวราชบริเวณถนนแปลงนาม ถนนอิสระนุภาพและถนนผดุงด้าว จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพ ข้อจำกัด ความเชื่อมโยงและแนวโน้มของการใช้พื้นที่ในบริบทต่างๆ และกำหนดเป็นแนวทางเพื่อนำมาสู่การพัฒนาในพื้นที่ที่ทำการศึกษา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงพรรณนา โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบบจำเพาะเจาะจง ซึ่งเครื่องมือที่ใช้คือ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงการสำรวจ และการสังเกต แลวใชเครื่องมือบันทึก หรือแบบบันทึกในการบันทึกพฤติกรรมของการใช้ที่ว่างและรวบรวมข้อมูล ซึ่งได้จากการสังเกตในบริเวณที่ทำการศึกษา โดยแบ่งตามเนื้อหาลักษณะของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ระหว่างอาคาร จากการใช้พื้นที่ของคน รถ และการค้าขาย
จากการศึกษาพบว่าย่านเยาวราชเป็นพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ของสถานที่มีลักษณะการใช้พื้นที่ว่างที่สอดคล้องกับหลักความเชื่อทางศาสนา ทั้งการไหว้เจ้า ตรุษจีน การถือศลีกินเจเน้นการค้าขายทั้งขายปลีกและขายส่ง และการศึกษาตรอกในบริเวณพื้นที่ศึกษา สามารถแบ่งประเภทและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เช่น การวางสิ่งของรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ทั้งกระถางต้นไม้ รถจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์ การตั้งแผงขายของ และการต่อเติมกันสาดบริเวณด้านหน้าและด้านข้างอาคาร ปัญหาในเรื่องความสะอาดที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ
ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในแต่ละด้านของตรอกทั้ง 3 ตรอกโดยขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยคำนึงถึงลักษณะกิจกรรมตามธรรมชาติของคนในพื้นที่เป็นหลัก และนำเสนอเป็นภาพกราฟริกและแนวทางปฏิบัติ ตามบริบทของพื้นที่ทั้ง 3 ตรอก
References
Great American Cities. New York:
Vintage Books.
Jan Gehl. 2001. Life Between Building
: Using Public Space. Denmark:
The Danish Architectural Press.
Kevin Lynch. 1960. The Image of the city
U.S.A. : The M.I.T Press.
Paul D. Spreiregen. 1965. Urban Design :
The Architecture of Towns and
Cities New York : McGraw Hili.
Roger Trancik . 1986. Finding lost space
: Theories of Urban Design. U.S.A
: John wiley & Sons, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว