รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ทางการฟัง - พูด ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214169คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ, ความสามารถทางการฟัง - พูด ภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการฟัง – พูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการฟัง – พูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลหนองบัว จำนวน 32 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถทางการฟัง - พูด ภาษาอังกฤษ แบบวัดความพึงพอใจของครูปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ t-test ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความสามารถทาการฟัง – พูดภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย มีคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์ จากผลการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก
2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการมีความสามารถทางการฟัง และความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 75 ทุกหน่วยการเรียนรู้ เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินความสามารถทางการฟังภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการฯ ในภาพรวม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถทางการพูดกับเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า ในภาพรวม ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
makes a Portfolio,” In Evaluation
: A Perspective for Change.
America: Victoria.
Eisner, E. (1976). “Educational Connoisseurship
and Criticism: Their form and
Functions in Educational Evaluation,”
Journal of Aesthetic Evaluation
or Education. 10, 135-150.
Evans, Ville. (1993). “Portfolio Assessment
in Foreign Language”, ERIC
Document Reproduction Service
No” ED 368197. Research Report
Vanderberg School.
Fleming, N. (2001). VARK A guide to
learning styles. Retrieved April 13,
2012, from http://www.varklearn.
com/english/page.asp?p=cate
gories.
Joyce, B, & Weil, M. (1996). Model of
teaching. 5th ed. Boston : Allyn
and Bacon.
Machado,P. and Bain Patricia. (1999). “The
Effects of Computer Assisted
Technology on the Language
Acquisition rate of Second
Language Acquisition Students.”
Dissertation Abstracts International,
58 (April,1997) :1255-A.
Penfielda nd Marasculio. (1972). Learning
to Listening : An experimental
Study. Education Research. 14,
220-224.
Piajet, J. (1972). The psychology of the
child. New York: Little Field
Reiser, R. A. and Dick, W. (1996).
Instructional Planning. Boston :
Allyn and Bacon.
Robinson, Jacquelyn P. (1993). Factors
Facilitating Administrative Placement
of Females in Higher Education
Administration. In Dissertation
Abstracts International. (Online).
Available: http://proquest.umi.com.
[2012, May 19].
Vygotsky, L. S. (2005). Applications of
Vygotsky’s Theory to Education.
Retrieved June,23, 2005, from
http://facultyweb.cortland.edu/and
ersmd/VYG/APP.HTML
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว