ความคิดเห็นของบัณฑิตที่มีต่อระดับสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของตนเอง ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214172คำสำคัญ:
สมรรถนะทางภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยราชภัฎ, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (มคอ.)บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่มีต่อระดับสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของตนเองตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา อันเป็นส่วนหนึ่งของผลการวิจัยเรื่อง “สมรรถนะทางภาษาอังกฤษของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา” ตัวแปรที่สำรวจ มี ความคิดเห็นด้านสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย ประกอบด้วยนักศึกษาปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนในปีการศึกษาที่ 2560 ซึ่งกำลังจะเป็นบัณฑิต จำนวน 3 กลุ่ม รวมจำนวนทั้งหมด 78 คน มี จำนวน 23 คน จากสาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ จำนวน 23 คน จากสาขาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ และจำนวน 32 คน จากสาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระดับความสามารถทางภาษา ตามหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต และหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต (5 ปี) ในด้านทักษมาลาประเภท 1) ทักษะการรับสาร ได้แก่ ทักษะฟัง และทักษะอ่าน และ 2) ทักษมาลาประเภททักษะการส่งสาร ได้แก่ ทักษะพูดและทักษะเขียนซึ่งสัมพันธ์กันในกิจกรรมการใช้ภาษาที่กำหนด
References
Thai Graduate Characterist ics
toward ASEAN Community, Journal
of Humanities and Social Sciences
Mahasarakham University. 33(5),
september - october 2014.
Wongsothon, A. (2003). Development of
test objectives based on fertility,
maximum ability and normal
English, Bangkok: Chulalongkorn
Printing House.
GI, Yuwono, and L. Harbon, (2010) English
teacher professionalism and
professional development: Some
common issues in Indonesia, Asian
EFL Journal 12 (3), 145-163.
Lyle F Bachmand, and Adrians S Palmer,
1996. Language Testing in Practice,
Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว