การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • ชนกพร ไผทสิทธิกุล

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214177

คำสำคัญ:

ฝึกประสบการณ์ , วิชาชีพครู, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะวิชาชีพครู 2) การประเมินความต้องการจำเป็น 3) การพัฒนาตัวบ่งชี้ 4) การสร้างเครื่องมือการประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผลการวิจัย พบว่า ควรมีการพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาทางการศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์(หลักสูตร 5 ปี) โดยการพัฒนาเป็นแบบตรวจสอบรายการ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้สมรรถนะหลัก 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้สมรรถนะย่อย ดังนี้ 1) การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 2) การเตรียมสิ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการเรียนรู้ 3) การนำเข้าสู่บทเรียน 4) บทบาทของผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน 6) การใช้สื่อ / นวัตกรรม/ แหล่งเรียนรู้ 7) การวัดและประเมินการเรียนรู้นักเรียน 8) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 9)ความรู้ที่จะนำมาใช้ในวิชาชีพครู และตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านคุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติงานครู โดยประกอบด้วยตัวบ่งชี้สมรรถนะย่อยดังนี้ 1) การแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกได้ถึงความศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน 2) ปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับการประกอบวิชาชีพครู 3) ความรับผิดชอบและความมีวินัย 4) การทำงานร่วมกับผู้อื่น 5) ปฏิบัติตนตามวิถีความเป็นไทยและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 6) การใช้ทักษะการคิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ครู 7) ทักษะการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี

References

Ahmed Yussuf. (2009). The impact of
work placements on the
development of transferable
skills in engineering. Dissertations
(Doctor of Philosophy). Loughborough
University.
Bobbitt, Franklin. (1981). The Curriculum.
Boston: Houghton Mifflin
Chowdhury, Subir. (2003). Organization
21C : someday all organizations
will lead this way. New Jersey:
Pearson Education, Inc.
Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First
Course in Factor Analysis (2nd
ed.). New Jersey:Lawrence Erlbaum
Associates.
Daft, Richard L. (1992). Organization
Theory and Design (4th ed).
Singapore: West Publishing.
Dick, Walter; & Carey, Lou. (2001). The
Systematic Design of Instruction.
4 th ed.new york: longman.
Dessler, Gary. (1998). Management. New
Jersey: Prentice – Hall.
Gabriel diaz maggioli. (2004). Teacher-
Centered Professional Development.
UK : Bertrams
Harold Koontz and O´Donnell. 1968.
Principle of Management. New
york : Macgraw-Hill
Joyce,B.R. and Well, M. (2000). Model of
Teaching. (6th ed.). Massachusetts:
Allyn & Bacon.
Koontz, Harold, Cyril O’Donnell and
Heinz Weihrich. (1982). Essentials
of Management. (3rd ed.). New
Delhi: TATA McGraw-Hill.
Kennedy, Evelyn Patricia. (2013). The
Nursing Competence Self-Efficacy
Scale : An Instrument Development
and Psychometric. Dissertations
(Doctor of Philosophy) Dalhousie
University.
Lunenburg, F. C. & Ornstein, A. C. (2012).
Educational administration. (6th
ed.) Wadsworth, Cengage Learning.
Ray, J. and Davis, L. (2001). Computers in
Educational Administration. New
York: McGraw Hill.
Richard L. Daft. (2006). The new Era of
management. Ohio: Thomson
south-western.
Rinehart, Michelle A. (2010). Expanding
the responsibility of architectural
education: Civic professionalism
in two schools of architecture.
Dissertations of Educational University
of Pennsylvania.
Ronald C. Doll. (1996). Curriculum
Improvement : Decision Making
and Process. (9th ed.). Boston:
Allyn and Bacon.
Schoderbeck, P.P. (1990). Management
D. Boston, U.A.: Richard. D Irwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

ไผทสิทธิกุล ช. (2019). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 132. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214177