ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของ พยาบาลวิชาชีพในการเก็บพยานหลักฐาน

ผู้แต่ง

  • อำภำรัตน์ อ่อนเปรี้ยว
  • ยุทธนา สุดเจริญ

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214188

คำสำคัญ:

การเก็บพยานหลักฐาน/พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยนำ ปัจจัยเสริม ความรู้ความเข้าใจและปัญหาที่มีผลต่อการปฏิบัติ งานของพยาบาลวิชาชีพในการเก็บพยานหลักฐานผู้ป่วยคดีและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยดังกล่าวเพื่อหาแนวทางส่งเสริม โดยกลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพหน่วยตรวจผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลภูมิพลอดุลเดช จำนวน 82 คน โดยใช้แบบสอบถามและพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบางเขน จำนวน 4 นาย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในการเก็บพยานหลักฐานผู้ป่วยคดีวิเคราะห์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบ Peason

พบว่าพยาบาลวิชาชีพมีความคิดเห็น ประสบการณ์ด้านการเก็บพยานหลักฐานผู้ป่วยคดีในระดับมากและน้อย ตามลำดับ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวทางปฏิบัติต่อผู้ป่วยคดีในระดับมากที่สุด เรื่องการเก็บรวบรวมพยานวัตถุผู้ป่วยคดีและ แนวทางการปฏิบัติด้านกฎหมายในระดับมาก รวมถึงโรงพยาบาลกำหนดนโยบายในระดับปานกลาง ด้านความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจด้านการเก็บพยานหลักฐานผู้ป่วยคดี ยกเว้นปัจจัยนำส่วนประสบการณ์ในการเก็บพยานหลักฐานผู้ป่วยคดีมีความสัมพันธ์ทางลบระดับต่ำกับความรู้ความเข้าใจเรื่องแนวทางการปฏิบัติด้านกฎหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.247, p-value < 0.05) สอดคล้องกับผลสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าควรมีพยาบาลนิติเวชเนื่องจากช่วยส่งต่อพยานหลักฐานกับตำรวจ โดยมีแนวทางส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ป่วยคดีคือ ควรจัดอบรมเรื่องการดูแลผู้ป่วยคดีและการเก็บพยานหลักฐาน รวมถึงผู้บริหารควรมีการศึกษาดูงานและอาศัยความร่วมมือระดับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญ

References

Bountong T. (2001). The core competencies
of nurses and midwives1. National
Nursing Education Seminar papers 3
rd. Bangkok. Crime Suppression
Division. Investigation and evidence
associated. Bangkok: Administration
Investigation.
Donna M. Garbacz Bader, D. M., & Gabriel,
S. (2010). Forensic Nursing: a concise
manual. United States of America:
Taylor & Francis Group.
Ethics Committee. (2002). Promote
guidelines for ethical nursing
profession. Bangkok: Thailand
Nursing and Midwifery Council.
Hammer, R. M. Moynihan, B., & Pagliaro, E.
M. (2006). Forensic nursing: A
Handbook for practice. Massachusetts:
Jones and Bartlett publishers.
Ketsumpan Y. Quality nursing care
Conference papers. Bangkok: Siriraj
Hospital.
Kongkarnpayaban. (2001). Quality
assurance Nursing in hospital:
Nursing service in-patient department.
Bangkok: Office of Permanent Secretary.
Lynch, V. A. (2006). Forensic nursing.
Colorado: Mosby.
Robinson, D. & Kettles, A. (2000). Forensic
nursing and multidiscliplinary care of
the mentally disordered offender.
London: Tyne and Wear.
Saripan W. (2011). Guideline of nursing
procedure for evidence collection of
forensic patients in emergency
deparment Ramathipodi Hospital.
M.Sc, (Public health) Major in
Medicaland public health law
administration.
Wongsakulchean S.(2008). Scenario role
of forensic nurses. Master Thesis
Nursing Administration, Nursing,
Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

อ่อนเปรี้ยว อ., & สุดเจริญ ย. (2019). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของ พยาบาลวิชาชีพในการเก็บพยานหลักฐาน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 176. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214188