การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ไกรวิชญ์ ดีเอม

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214193

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, เทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คนที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent sample)

ผลการวิจัยพบว่า

ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 3 คน มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการ
ประเมินคุณภาพการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.32 อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมาก สามารถนำดำเนินการต่อได้ และการหาประสิทธิภาพการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีประสิทธิภาพ 87.00/85.33 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างจากการเรียนรู้ด้วย
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมรูปแบบการเรียนการสอน
ร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาในรายประเด็นพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับปานกลาง ในประเด็นตำแหน่งและความสมดุลในการแสดงผลภาพสามมิติ และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในประเด็นตำแหน่งและความสมดุลในการแสดงผลภาพสามมิติ และมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในประเด็นภาพสามมิติ ความสวยงาม ความเหมาะสมกับเนื้อหา และวัยของผู้เรียน

References

Chidthong, A. (2012). The application
of additional reality techniques
to produce teaching materials for
Wooden structure. Chiang Mai:
Graduate School Chiang Mai
University.
Hannes Kaufmann. (2005). Raumvorstellungstraining
mit Augmented Reality – wer
profitiert vom Einsatz neuer
Technologie. https://www.ims.tuwien.
ac.at/publications/tuw-139961.
Khanchai, S. (2011). Development of
Educational Models Using Extra
Technology. Multi-Marker Case
Study Chiang Mai: Chiang Mai University.
Meesuwan, W. (2011). Augmented
Reality Technology For Learning
Mix Realily by Amire. Journal of
Education Naresuan University
Vol. 13 April-June 2011 P.121-127.
Naresuan University.
Na Songkla, J. (2007). E- Instructional
Design Bangkok: Chulalongkorn
Printing House.
Pathomaree, N. (2004). Ancillary system
for conveying assembly skills.
Bangkok : King Mongkut's University
of Technology Thonburi.
Pothibat, P. (2007). Development of a
curriculum for local curriculum
on mulberry wine for prathom
suksa six students. Master's
Degree in Educational Research
Mahasarakrm university.
Srisaard, B. (1998). Teaching Development.
Bangkok: Children's Club.
Srisophab, W and Group. (2012). The
Development of Augmented Reality
Supplement Book “Devices in
Spinal Cord Injury Patient Ambulation”.
Journal of Education Naresuan
University Vol. 15 January – March
2013 P.24-32. Naresuan University.
Tubpia, P. (2012). Development of
multimedia package The virtual
world combines the real world
with the structure and function
of the heart. For Mathayomsuksa
5 Students. Phitsanulok: Naresuan
University.
Wei Liu, Adrian David Cheok, Charissa Lim
Mei-Ling, Yin-Leng Theng. (2007).
An User Acceptance Study on a
Plant Mixed Reality System for
Primary School Children. Singapore
: National University of Singapore.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

ดีเอม ไ. (2019). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนร่วมกับเทคโนโลยีออคเมนเต็ด เรียลลิตี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 196. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214193