ประวัติศาสตร์เควียร์ในนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย กรณีศึกษา นารายณ์อวตาร

ผู้แต่ง

  • สรร ถวัลย์วงศ์ศรี
  • นราพงษ์ จรัสศรี

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214239

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์เควียร์ นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย นาฏยศิลป์ร่วมสมัย นารายณ์อวตาร นราพงษ์ จรัสศรี

บทคัดย่อ

บทความเรื่องประวัติศาสตร์เควียร์ในนาฏยศิลป์ร่วมสมัยไทย กรณีศึกษา “นารายณ์อวตาร” นี้
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในหัวข้อ “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากแนวคิดความหลายหลายทางเพศ” ผู้วิจัยใช้การวิจัย
แบบกรณีศึกษาโดยเลือกใช้นาฏยศิลป์ร่วมสมัย “นารายณ์อวตาร” ของนราพงษ์ จรัสศรี จัดแสดงที่
หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เป็นกรณีศึกษา
งานวิจัยชิ้นนี้เน้นการศึกษารูปแบบองค์ประกอบและแนวคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยที่
แสดงถึงอัตลักษณ์และความหมายแฝงของเควียร์ โดยผลการวิจัยสามารถเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์
นาฏยศิลป์ร่วมสมัยที่นาเสนอแนวความคิดเรื่องเควียร์และความหลากหลายทางเพศสาหรับการวิจัย
ต่อไปได้ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ การค้นคว้าเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การสร้างสรรค์งาน ประสบการณ์ของผู้วิจัยในการมีส่วนร่วมในฐานะนักแสดง การมีส่วนร่วมใน
การสัมมนา การสารวจข้อมมูลภาคสนาม โดยการเก็บข้อมูลอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ถึง
เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559
ผลการวิจัยผู้วิจัยพบว่ามีประวัติศาสตร์และแนวคิดเควียร์รวมทั้งมุมมองความหลากหลาย
ทางเพศในกระบวนการสร้างสรรค์ นารายณ์อวตาร โดยสามารถอธิบายตามองค์ประกอบการแสดง
ประกอบด้วย 1) บทการแสดง 2) นักแสดง 3) การออกแบบลีลา 4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 5) ดนตรีประกอบ
แสดง 6) เวทีการแสดงและฉาก 7) อุปกรณ์การแสดง 8) การออกแบบแสง นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่า
มุมมองเรื่องเควียร์ในนาฏยศิลป์นี้แสดงเปิดเผยให้เห็นถึง 1) ความเป็นปัจเจกบุคคลหรืออัตลักษณ์ของ
ผู้สร้างสรรค์ 2) แนวทางการใช้สัญลักษณ์ทั้งทางตรงและความหมายแฝงที่แสดงถึงเรื่องเพศสภาพ
3) สะท้อนความหลากหลายทางเพศกับสภาพสังคมไทยร่วมสมัยผ่านนาฏยศิลป์ ซึ่งผลการวิจัยตรงตาม
วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยทุกประการ

References

Aranyanak, C. (2014). Thai identity in
contemporary Thai dance “Narai
Avatara 2003” by Narapong
Charassri. Institute of Culture and
Arts Journal, Srinakharinwirot
University. Vol 15, No 12 (30).
Burt, R. (2007). A Male Dancer. 2nd Ed.
New York: Routledge.
Charassri, N. (2005). History of Western
Dance (1sted). Bangkok:
Chulalongkorn University Press.
Charassri, N. (2007). Narai Avatara:
Performing the Thai Ramayana in
the Modern World. Bangkok:
Amarin Printing and Publishing
Company Limited.
Martin, J. (1933). The Modern Dance.
Dance. New York: Dance Horizons
Noisette, P. (2011). Talk about
Contemporary Dance. Flammarion.
Panomrak, J. (2010). Thai indentity in
Naraphong Charassri’s Thai
contemporary dance works. M.A.
Thesis in Thai Dance, Faculty of
Fine and Applied Arts,
Chulalongkorn University.
Stoneley, P. (2007). A Queer History of
the Ballet. New York: Routledge.
Tovititwong, S. (2010). The analytical
study of female dance
movement in contemporary Thai
dance and the role of Monto in
“Narai Avatara.” M.A. Thesis in
Thai Dance, Faculty of Fine and
Applied Arts, Chulalongkorn University.
Yin, R. K. (2003). Case Study Research:
Design and Methods (3rd ed.).
Thousand Oaks, CA: Sage
Publications, In.
Interview
Charassri, N. Interview, April 4, 2016.
Charassri, N. Interview, May 2, 2016.
Charassri, N. Interview, Sep 12, 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

ถวัลย์วงศ์ศรี ส., & จรัสศรี น. (2019). ประวัติศาสตร์เควียร์ในนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย กรณีศึกษา นารายณ์อวตาร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 202. https://doi.org/10.53848/irdssru.v9i2.214239