ปัจจัยที่มีศักยภาพของเมืองด้านธุรกิจการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และ การแสดงสินค้า/นิทรรศการนานาชาติ (MICE) ในจังหวัดพะเยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน

ผู้แต่ง

  • พัจน์พิตตา ศรีสมพงษ์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i2.214368

คำสำคัญ:

ธุรกิจการประชุม; การท่องเที่ยวเพื่อเป็น รางวัล; การแสดงสินค้า; นิทรรศการนานาชาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยปัจจัยที่มีศักยภาพของเมืองด้าน
ธุรกิจการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และ
การแสดงสินค้า/นิทรรศการนานาชาติ (MICE) ใน
จังหวัดพะเยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อศึกษาศักยภาพของ
โครงสร้างพื้นฐานสิ่งอานวยความสะดวกที่สามารถ
รองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มธุรกิจการประชุม การ
ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการแสดงสินค้า /
นิทรรศการนานาชาติ (MICE) และเสนอแนะข้อมูลที่
เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนส่งเสริมธุรกิจการประชุม
การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการแสดงสินค้า/
นิทรรศการนานาชาติ (MICE) ในจังหวัดพะเยาเพื่อ
รองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประชากรกลุ่ม
ตัวอย่างคือ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจและสมาคม
ที่เกี่ยวข้อง) ที่อยู่ในจังหวัดพะเยา จานวน 9 คน และ
กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัด
พะเยา จานวน 164 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง

แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และใช้
วิธีการเก็บข้อมูลเป็นการสารวจความคิดเห็นด้วย
แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์
ผลการศึกษาศักยภาพของเมืองด้านธุรกิจ
การประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการ
แสดงสินค้า/นิทรรศการนานาชาติ (MICE) ในจังหวัด
พะเยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ใน 5
ด้าน พบว่า ด้านคุณภาพของสถานที่การจัดประชุม
และด้านการเข้าถึงสถานที่จัดการประชุม มีศักยภาพ
อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 และ
3.36 ตามลาดับ (x¯ = 3.37 และx¯ = 3.36) ด้าน
โครงสร้างพื้นฐานการจัดการประชุม และด้านการ
สนับสนุนของรัฐ มีศักยภาพอยู่ในระดับน้อย โดยมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.37 และ 2.53 ตามลาดับ (x¯ = 2.37
และ x¯ = 2.53) และด้านสถานที่การพักผ่อนหย่อนใจ
มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78
(x¯ = 3.78)
สิ่งสาคัญต่อการวางแผนส่งเสริมธุรกิจการ
ประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการแสดง
สินค้า/นิทรรศการนานาชาติ (MICE) ในจังหวัดพะเยา
เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนคือหน่วยงาน
ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาคธุรกิจ
การประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และการ
แสดงสินค้า/นิทรรศการนานาชาติ (MICE) ควรผลักดัน
ให้เกิดการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางธุรกิจที่มี
การปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2550). ตลาดร่วมอเมริกา
ใต้ตอนล่าง Southern Cone Common
Market –MERCOSUR. {ออนไลน์} เข้าถึงได้
จากhttp://www.mfa.go.th/web/2390.
php?id=375
ณัฐกานต์ รองทอง. (2555). ศึกษาความพร้อมของ
เมืองในด้านธุรกิจการจัดประชุมหรือไมซ์
(MICE) พื้น ที่จังห วัด อุบลราชธานี .
มหาวิทยาลัยนเศวร.
ทวีป ศิริรัศมี และคณะ. (2552). การเพิ่มศักยภาพ
ของธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการ
นานาชาติของ กรุงเทพฯ ด้วยการวัด
เปรียบเทียบสมรรถนะกับสิงคโปร์และฮ่องกง.
สมาคมนักวิชาการการ ท่องเที่ยว (ประเทศ
ไทย).
เทวีวรรณ ปทุมพร. (2549). ปัจจัยความสาเร็จของ
อุตสาหกรรมการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อ
เป็นรางวัล และการแสดงสินค้า/นิทรรศการ
นานาชาติ (MICE) ในจังหวัดขอนแก่น.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2554). ธุรกิจไมซ์ (MICE
BUSINESS). นนทบุรี: เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง.
ปัทมนันท์ นิทัศน์สันติคุณ. (2550). ความต้องการใช้
บ ริก า ร ศูน ย์ป ร ะ ชุม แ ล ะ แ ส ด ง สิน ค้า
นานาชาติจังหวัดเชียงใหม่ ของผู้จัดงาน
แสดงสินค้า. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รสมารินทร์ อรุโณทัยพิพัฒน์. (2544). ปัจจัยด้าน
การตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้โรงแรจังหวัด
เชีย ง ใ ห ม่เ ป็น ส ถ า น ที่จัด ก า ร ป ร ะ ชุม .
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สานักงานจังหวัดพะเยา. (2557). การท่องเที่ยว.
{อ อ น ไ ล น์} เ ข้า ถึง ไ ด้จ า ก
http://www.phayao.go.th/au/c4-3.php.
มนัส ชัยสวัสดิ์ และคณะ. (2552). ศึกษาความพร้อม
ขอ ง เมือ งใ น ด้า น ธุร กิจ ก า รจัด ปร ะ ชุม
หรือไมซ์ (MICE) พื้นที่จังหวัดภูเก็ต .
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต.
รชพร จันทร์สว่าง. (2546). “ความเป็นมาของการ
ท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล” ในเอกสารการสอน
ชุดวิชา การจัดการธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อเป็น
รางวัล หน่วยที่ 1 – 7 สาขาวิชาวิทยาการ
จัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 54.
นนทบุรี: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช.
สานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน), (2555). Year of Mice.
{อ อ น ไ ล น์} เ ข้า ถึง ไ ด้จ า ก
http://www.businesseventsthailand.co
m/fileadmin/user_upload/documents/t
ceb-newsletter/Issue_26.pdf.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis
for the behavior sciences (2nd ed).
Hillsdale NJ:Lawrence Erlbaum.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-09-2019

How to Cite

ศรีสมพงษ์ พ. (2019). ปัจจัยที่มีศักยภาพของเมืองด้านธุรกิจการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล และ การแสดงสินค้า/นิทรรศการนานาชาติ (MICE) ในจังหวัดพะเยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(2), 45. https://doi.org/10.53848/irdssru.v7i2.214368