กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนริมน้าจันทบูร

ผู้แต่ง

  • กรกฎ แพทย์หลักฟ้า
  • พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ
  • สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i2.214432

คำสำคัญ:

กระบวนการมีส่วนร่วม, แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม, ชุมชนริมน้าจันทบูร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชุมชนและวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนาต่อชุมชน ดาเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ คณะกรรมการชาวชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนามามากกว่า 5 ปี และกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญได้แก่ ชาวชุมชน และบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้บริการแหล่งเรียนรู้ 100 คนการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยเทคนิคแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่าชุมชนร่วมมือกันในการดาเนินกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมโดยแบ่งการดาเนินการเป็น 4 ระยะคือ 1) ร่วมค้นหาตัวตนและแนวทางการพัฒนาชุมชน เพื่อค้นหาจุดเด่นและรูปแบบในการพัฒนาซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านทัศนคติทางบวกกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) กาหนดแผนพัฒนาและสื่อสารแผนต่อชุมชน เพื่อร่วมกันจัดทาวิสัยทัศน์และพันธกิจชุมชนจัดกิจกรรมกระตุ้นการมีส่วนร่วม,รวบรวมข้อมูลชุมชนประสานเครือข่ายความร่วมมือและประชาสัมพันธ์เพื่อจัดทาพิพิธภัณฑ์ชุมชน ก่อให้เกิดผลกระทบที่ดีด้านความสัมพันธ์ของคนในชุมชนด้วยกันและต่อหน่วยงานภายนอกอย่างชัดเจน 3) การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางกายภาพ เพื่อสื่อสารชุมชและหาแนวทางอนุรักษ์อาคารและพัฒนากายภาพของชุมชน ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านการปิดกันของชาวชุมชนบางกลุ่มจากกระบวนการสื่อสารในชุมชนที่ขาดประสิทธิภาพ 4) กระบวนการมีส่วนร่วมธุรกิจของชุมชนเพื่อชุมชน มีการฟื้นฟูเศรษฐกิจในชุมชนซึ่งส่งผลกระทบทางด้านผลประโยชน์ของชุมชนทาให้ชุมชนมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและก่อให้เกิดธุรกิจที่ชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกันในกระบวนการทางานของชุมชนที่ผ่านมานี้ ชุมชนดาเนินการบรรลุตามเป้าหมาย

References

Butsaba Sittikan and team. (2549). Socio –
Cultural Impacts of Tourism
Developmemt in Chiangrai
Province, Thailand .Bangkok : The
development and Tourism in a
sustainabla Fashion Fund Support
Reseact office.
Seri Phongphit. (2007). Life Plan and
Community Economy. (5thedition).
Bangkok: Wisdom Power.
Thip Sisakulchairak. ( 2016). Muang
Chanthaburi : Original Model of
Community Economy by
SocialActivities PathumThani:
Metropolitan and City Study Center
Rangsit University in cooperation
with Public Wisdom Institute
(CPWI).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

แพทย์หลักฟ้า ก., ศุภเศรษฐศิริ พ., & ทิมวัฒนบรรเทิง ส. (2019). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนริมน้าจันทบูร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), 7. https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i2.214432