การมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตอ้าเภอบางน้้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v6i1.214451คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การพัฒนาท้องถิ่น, บางน้ำเปรี้ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตอาเภอบางน้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ระดับศึกษาการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอาเภอบางน้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 3) ศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนกับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอาเภอบางน้าเปรี้ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา 4) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตอาเภอบางน้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตอาเภอบางน้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จานวนทั้งสิ้น 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน(Pearson’s coefficient correlation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตอาเภอบางน้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราโดยรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก1 ด้านและระดับน้อย 3 ด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลาดับ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลตามลาดับ
2. การพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในเขตอาเภอบางน้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลาดับ ได้แก่ ด้านการบารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นด้านการศึกษาและด้านการสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ตามลาดับ
3. การมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพัฒนาท้องถิ่นในระดับสูงด้านที่มีความสัมพันธ์สูงที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติรองลงมาด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่น ของประชาชนในเขตอาเภอบางน้าเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา คือ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสาคัญและหาแนวทางในการพัฒนากระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมในการปฏิบัติร่วมในการรับผลประโยชน์ และร่วมในการประเมินผลเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลต่อการบริหารราชการภายใต้หลักธรรมาภิบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ. รายงานการวิจัย กระทรวงสาธารณสุข.
ปกรณ์ ปรียากร.(2538). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในการบริหารการพัฒนา.กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
ประเวศ วะสี. (2552). กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาประเทศไทย ท้องถิ่นเข้มแข็ง.กรุงเทพมหานคร: บริษัททีคิวพีจากัด.
Cohen, John M. and Uphoff, Norman. (1980). Participation: Concept and Measure for Project Design, Implementation in Rural Development. Monograph No.2, January 1977, Ithaca: The Rural Development Community Center for International Studies, Cornell University.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว