แนวทางจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ป่าชุมชนบ้านโคกหัวข้าว จังหวัด ฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ภูมิหทัย กิตติพัฒนกุล
  • ปัสสี ประสมสินธ์
  • สรวัฒน์ วิศาลาภรณ์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i2.214457

คำสำคัญ:

การจัดการอย่างมีส่วนร่วม, ป่าชุมชน, ชุมชนบ้านโคกหัวข้าว

บทคัดย่อ

บทความนี้นาเสนอการศึกษาการใช้ประโยชน์และการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ เพื่อหาแนวทางในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ใช้วิธีการวิเคราะห์ SWOT หากลยุทธ์และแนวทางในการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีประสิทธิภาพ เก็บข้อมูลใช้วิธีการสารวจพื้นที่และแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้ทาให้ทราบถึงสถานภาพทรัพยากรป่าไม้ การใช้ประโยชน์ การมีส่วนร่วม ในการจัดการทรัพยากรของชุมชน ผลจากการศึกษาพบว่า ทรัพยากรป่าไม้ในป่าชุมชนบ้านโคกหัวข้าวมีพรรณไม้ทั้งสิ้น 83 ชนิด 46 วงศ์ ชาวบ้านอาศัยผลผลิตจากป่าเพื่อเป็นอาหารและยารักษาโรค อีกทั้งยังมีการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ผ่านมิติความเชื่อและประเพณีพื้นบ้าน ปัจจัยที่มีผลในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ และการมีสถานภาพทางสังคมในชุมชน โดยเพศชายจะมีส่วนร่วมมากกว่าเพศหญิง ผู้ที่อยู่ในวัยทางานจะมีส่วนร่วมมากกว่าวัยเรียน ผู้ที่มีการศึกษามากมีส่วนร่วมมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาที่น้อยกว่า ผู้ที่มีรายได้น้อยจะมีส่วนร่วมมากกว่าผู้ที่มีรายได้มากกว่า ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ระยะเวลานาน ๆ จะมีส่วนร่วม ที่มากกว่าผู้ที่อาศัยในพื้นที่ระยะเวลาสั้น ๆ และผู้มีสถานภาพทางสังคมในชุมชนจะมีส่วนร่วมมากกว่า ผู้ที่ไม่มีสถานภาพทางสังคมในชุมชน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการพึ่งพิงทรัพยากรได้แก่ รายได้ อายุ การมีอาชีพเสริม และสถานภาพทางสังคมในชุมชน ผู้ที่มีการพึ่งพิงทรัพยากรมากนั้นมีรายได้ที่น้อยกว่าผู้ที่ไม่มีการพึ่งพิงทรัพยากร ผู้ที่มีช่วงอายุอยู่ในวัยทางานจะมีการพึ่งพิงทรัพยากรมากกว่าผู้ที่อยู่ในวัยเรียน ผู้ที่มีอาชีพเสริมทาให้มีการพึ่งพิงทรัพยากรมากกว่าผู้ที่ไม่มีอาชีพเสริม และผู้ที่มีสถานภาพทางสังคมในชุมชนมีการพึ่งพิงทรัพยากรมากกว่าผู้ที่ไม่มีสถานภาพทางสังคมในชุมชน กลยุทธ์และแนวทาง การจัดการทรัพยากรป่าไม้ชุมชนบ้าน โคกหัวข้าว ควรเป็นกลยุทธ์สร้างความมั่นคงของระบบนิเวศป่าชุมชนเพื่อตอบสนองการพัฒนาที่ยั่งยืน บริหารการจัดการเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าชุมชนอย่างยั่งยืน โดยสร้างจิตสานึกรักหวงแหนป่าและปลูกป่าเพิ่มเติมในป่าชุมชนของหมู่บ้าน ปลูกพันธุ์ไม้ป่าที่เป็นอาหารและสมุนไพรใช้สอยในพื้นที่ป่าชุมชน ปลูกพืชตามหัวไร่ปลายนาและบวชป่า เสริมด้วยกลยุทธ์อนุรักษ์ฟื้นฟูพัฒนาระบบ ศักยภาพ และการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างสมดุล มีแผนกิจกรรมคือ จัดทาแนวเขตป่าชุมชนให้ชัดเจน พัฒนาและจัดการผลผลิตจากทรัพยากรป่าไม้จากป่าชุมชน ป้องกันรักษาป่าจากผู้บุกรุกและไฟป่า สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ป่าชุมชนบ้านโคกหัวข้าวมีความอุดมสมบูรณ์และคงอยู่ต่อไป

References

Aunprom, S. (2011). FOREST control
technology community in a new
jungle? Community Forest Huay
Kaew Huay Kaew, Mae On, Chiang
Mai. Journal of Social
Anthropology, 30, 155-177.
Benjachaya, S., Paosricharean, C., Sittikan,
P., Kulchattanon, N., Sripradid, J., &
Krampera, S. (n.d.). Style seating,
standing in the forest as part of
the Community Forest Ban Jan,
Kalayanivadhana, Chiang Mai.
National Park Service.
Bungngamchuen, J., Triratns, S., & Rangkawatt,
N. (2013). Development of
participation in community forest
management: the study of Ban Tha
Pa Pao ,Mae Tha Lamphun. KMUTT
Research and Development Journal,
36 (2), 215 -234.
Chamrik, S. and Santasonbut, Y (1993).
Forest communities in Thailand:
Volume 1 tropical rain forest and
Overview of forest communities
in Thailand. Type II. Development
of local community institutions.
Choeaen, S. (2012). Participate
ofCommunity Forest
Management: A Case Study of
Wang Maprang. Wisartchaichan,
Trang. Service Journal, 23, 43-53.
Department of Forest Management.
(1990). Report of Forest Resource
Forest Sector demo beating my
mother, Apartment 4, 5, 6, 7, 14
and 16 Ngao Lampang by LINE
PLOT SYSTEM. Bangkok: Faculty of
Forestry, Kasetsart University.
Department of Forestry. (1997). The
community forest management.
Bangkok. Station of encourage
forestry. Department of Forestry
Department of Forestry. (1999). The
development of forestry and
timber statistics Thailand.
(Online), 9 December 2014.
http://www.forest.go.th.
Department of Forestry. (1998). The
community forest management.
Bangkok: Station of encourage
forestry. Department of Forestry
Department of Land Group Information and
Communication Phanomsarakham
province. (2014). Phanomsarakham.
(Online), 19 January 2015. http:
//www.website.chachoengsao. go.th.
Department of Lands. (1999). Ban Khok
Hua Khao community forest’s
map. [Map]. Chachoengsao.
Duangsathaporn, K. (2013). The
documentation for Exploration
of forest. Report to the Forest. 3
April 2013. Forest Research Centre,
Faculty of Forestry, Kasetsart
University.
Duangsathaporn, K. (2011). Guidelines for
the preparation of the strategic
plan and the Forestry
Department. Department of Forest
Management Faculty of Forestry
Kasetsart University.
Herrison, S. and J, Suh. (2004). Progress and
prospects of community forestry in
developing and developed
countries. Management and Policy
3(3):287-302.
Kokpon, A. (2009). Confidant guide the
participation of citizens for local
administrators. Bangkok.
Amporn the sublime. (2012). Teaching
Administration Hospital's
organizational analysis using
SWOT analysis. (Online), 9
December.2 0 1 2 . 6 1 . 1 9 . 8 6 . 2 3 0 /
manage/Plan_pic/2 0 1
20923145921.doc.
Kutinn, U. (1998). Ecology: basic forestry.
Bangkok's Kasetsart University.
Marod, D. (n.d.). Sampling technique
and analysis of plant
communities. (Online), 21 January
2 0 1 5 .
http://bioff.forest.ku.ac.th/PDF_FILE
/MAY_2011/DOKRAK_2011.pdf.
Marod, D., and Kutinn, U. (2010).
Ecological Forestry. Bangkok:
Faculty of Forestry, Kasetsart
University.
Na Nakon, T. (1999). A comparative
study of how to explore the
forest and the Plot Sampling
Point Sampling. Master of
Science. Forest management.
Kasetsart University. Department of
Forest Management.
Nakontab, A. and Janjarat, S. (2013). The
duration of residence and back.
Hotels in Chiang Khan. Journal of
Applied Economic, 20 (2), 23-36.
Office of Economic Development and
National Society Prime Minister's
Office. (2012). National Social and
Economic Development Plan No.
11 of 2012 to 2016. Bangkok:
Formula wide.
Penneawkam, N. (2016). Thailpuan’s
community. (Online), 7 January
2016.https://www.gotoknow.org/po
sts/219204.
Petchporm, J., Munkab, P ., & Makehore,
T. (2010). A variety of plant
utilization and economic value
from. Forest Don Yang Kamalasai,
Kalasin. Journal of Agricultural
Technology, 31 (2), 37-46.
Soontronwong, S. (2014). Community
Forest Society Thailand. (Online),
9 December 2 014 .
http://www.recoftc.org.
Thepakron, S. (2015). Community Of
Thaipuan Ban Khok Hua Khao.
(Online), 19 January 2015.
http://www.thaiphuan.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

กิตติพัฒนกุล ภ., ประสมสินธ์ ป., & วิศาลาภรณ์ ส. (2019). แนวทางจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ป่าชุมชนบ้านโคกหัวข้าว จังหวัด ฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), 67. https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i2.214457