ผลการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคแบบกลุ่มร่วมมือที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วริศรา เหล่าบารุง

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v6i1.214460

คำสำคัญ:

เทคนิคแบบกลุ่มร่วมมือ, ต้นทุน 1

บทคัดย่อ

              การเรียนการสอนในปัจจุบันต้องได้รับความร่วมมือจากนักศึกษา เพื่อจะได้เกิดความสามัคคีและความเข้าใจมากขึ้น ดังนั้นกระบวนการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ Team Discussion เป็นการจัดการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านสาระที่กาหนดไว้ ในหลักสูตรสาระการเรียนรู้ รวมทั้งปลูกฝังเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทักษะต่างๆ ผ่านการทางานร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาเรื่องผลการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคแบบกลุ่มร่วมมือ ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาความรู้ทักษะวิชาชีพทางบัญชีของนักศึกษา บช.บ. 4ปี (เทียบโอน) ชั้นปีที่ 1 ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา การบัญชีต้นทุน 1 ก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักศึกษา บช.บ.4 ปี (เทียบโอน) ชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีแผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาความรู้ทักษะวิชาชีพทางบัญชีของนักศึกษา บช.บ.4 ปี (เทียบโอน) ชั้นปีที่ 1 ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ นักศึกษาสาขาการบัญชี บช.บ.4 ปี (เทียบโอน) ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จานวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งมีค่าคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แผนการจัดการเรียนทั้งหมด 1 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิด 3 ตัวเลือกจานวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอานาจจาแนก ตั้งแต่ 0.430– 0.535 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.50
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความทักษะวิชาชีพทางบัญชีของนักศึกษาสาขาการบัญชี บช.บ.4 ปี (เทียบโอน) ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ ที่มีประสิทธิภาพ77.81/89.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนเท่ากับ 0.6742 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.05และนักศึกษาสาขาการบัญชี บช.บ.4 ปี (เทียบโอน) ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและนักศึกษามีความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้จัดทาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด
กล่าวโดยสรุป แผนการเรียนเรื่อง การพัฒนาความรู้ทักษะวิชาชีพทางบัญชีของนักศึกษาสาขาการบัญชี บช.บ.4 ปี (เทียบโอน) ชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ การเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม สามารถนาแผนการเรียนนี้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

References

บุญชม ศรีสะอาดและคณะ. พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์: 2550.
นฤมล นาดสูงเนิน. พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1. กรุงเทพฯ. พิทักษ์อักษร, 2555
ไพศาล พระจันทร์ลา. การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. นวัตกรรมตามแนวคิดแบบBackward Design. กรุงเทพฯ:
สานักพิมพ์ช้างทอง, 2550.
. พัฒนาการเรียนการสอนเอกสารประกอบการสอน วิชา 0506703. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2545.
อรวรรณ บาเรอพงษ์ . การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

เหล่าบารุง ว. (2019). ผลการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคแบบกลุ่มร่วมมือที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาการบัญชีต้นทุน 1 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(1). https://doi.org/10.53848/irdssru.v6i1.214460