ความสัมพันธ์ของแนวทานองเพลงและรูปแบบจังหวะที่ปรากฏในเพลง โหมโรงรัตนโกสินทร์ สามชั้น

ผู้แต่ง

  • ฐิระพล น้อยนิตย์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i3.214550

คำสำคัญ:

โหมโรง, ความสัมพันธ์, เพลง, รัตนโกสินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทในสังคมวัฒนธรรมดนตรีไทย ที่มาและโครงสร้างเปรียบเทียบการสัมผัสทานองเพลงกับฉันทลักษณ์บทกวี ความสัมพันธ์ในลักษณะคู่เสียงสัมผัส ความเชื่อเรื่องเลข 9 และเลข 8 แนวทานองเพลง รูปแบบของจังหวะผลการวิจัยพบว่า เพลงโหมโรงรัตนโกสินทร์ สามชั้น เป็นเพลงที่นายมนตรี ตราโมท รับเชิญร่วมโครงการแต่งเพลงสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ระหว่างธนาคารกรุงเทพ จากัดกับกรมศิลปากร เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวาระกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี และใช้บรรเลงเป็นการเฉลิมฉลองการสมโภชพระนคร ณ ท้องสนามหลวง เพลงโหมโรงรัตนโกสินทร์ สามชั้น มีสมุฏฐานที่มาและโครงสร้างเพลงดังนี้ท่อน 1 มาจากเพลงสระบุหร่งใน อัตราสองชั้น หน้าทับปรบไก่ มี 9 จังหวะ ท่อน 2 มาจากเพลงอันเป็น
สิริมงคลชื่อตระนิมิต มี 8 จังหวะ แล้วทวีคูณเป็นอัตราสามชั้นปรากฎเสียงสัมผัสระหว่างจังหวะ เสียงสัมผัสระหว่างประโยค เสียงสัมผัสระหว่างวรรคและเสียงสัมผัสระหว่างวลี อย่างฉันทลักษณ์บทกวีความสัมพันธ์ของทานองเพลงในรูปแบบคู่เสียงสัมผัส มีการเชื่อมต่อทานองเพลงในแต่ละจังหวะประโยค วรรค จากเสียงหนึ่งไปยังอีกเสียงหนึ่งด้วยคู่เสียงสัมผัสเรียกว่า คู่สนิท คู่เสนาะ คู่เสน่ห์ คู่สนานและคู่สนม ใช้บันไดเสียง “ซอล” เป็นหลัก และบ่งบอกถึงขั้นเสียงของลูกตก และเชื่อว่าเลข 9 กับเลข 8
เป็นเลขแห่งสิริมงคล โดยท่อน 1 มี 9 จังหวะ หมายถึง พระมหากษัตริย์ปราบดาภิเษกเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ ในพระบรมราชจักรีวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึง 9 พระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช เสวยราชสมบัติ รัชกาลที่ 9 ท่อน 2 มี 8 จังหวะ หมายถึง เทพประจาทิศทั้ง 8 ที่เรียกว่า “อัษฎทิศ”กระสวนจังหวะของทานองเพลง ท่อน 1 และท่อน 2 ปรากฏกระสวนจังหวะที่เป็นรูปแบบประโยค วรรค วลี ผู้แต่งได้เชื่อมสัมพันธ์ทานองเพลง โดยนาศัพท์สังคีตมาร้อยเรียงเข้าไว้ในบทเพลงโหมโรงนี้ เช่น สะบัด สะเดาะ กวาด ลูกล้อ ลูกขัด และลูกเหลื่อมในแบบต่าง ๆ อย่างมีอรรถรส

References

Arjnarong J. (2016). National Artist (Thai
Music Program) in 2002. Interview,
September 19th.
Fine Arts Department and Bangkok Bank Ltd.
(1982). Celebrate 200 years of
Rattanakosin. n.p.
Fine Arts Department. (1982). Celebrate 200
years of Rattanakosin. Bangkok:
Phraphikhanes Printing House.
Fuckchumroon S. (2003). The Composition
of Thai Music. Bangkok: Thai Studies
Institute of Chulalongkorn University.
Kaeosudjarit S. (2015). The 10th Level
Inspector of Ministry of Culture.
Interview, October 19th.
Kanchanachiwaparian N. and Prasit. (2518).
The Poetry, The appreciation and
The Review. Bangkok: Thai Watana
Panich Press.
Pidokchat N. (2016). The Encyclopedia of
Thai Music. Nakhonprathom. Mahidol
University Press.
Samrongthong B. (1996). The Operational
Tempo of Percussion. Bangkok:
Chulalongkon University Press.
Samrongthong B. (2000). The project to
translate the book, “The
Anthropology of Music by Alam P.
Merriam.” Grant from Research Fund
Faculty of Fine and Applied Arts.
Chulalongkorn University. n.d.
Tramot M. (2002). Thai Music Acadimic
Department. 2nd ed. Bangkok:
Matichon Press.
Wusuthipat M. (1990). The Theory to Thai
Music Analysis. Santisiri Pess.
Yusawas W. (2015). The Expert in Thai Dance
Bunditpatanasilpa Institute. Interview,
November 19th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

น้อยนิตย์ ฐ. (2019). ความสัมพันธ์ของแนวทานองเพลงและรูปแบบจังหวะที่ปรากฏในเพลง โหมโรงรัตนโกสินทร์ สามชั้น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(3), 24. https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i3.214550