การพัฒนาเรือนค้าขายจากมรดกสิ่งก่อสร้างพื้นถิ่นสาหรับพื้นที่ภูมิทัศน์ วัฒนธรรมนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • วิศิษฎ์ เพียรการค้า
  • นิรัช สุดสังข์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i3.214594

คำสำคัญ:

เรือนค้าขาย, มรดกสิ่งก่อสร้างพื้นถิ่น, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิเคราะห์เรือนค้าขายจากมรดกสิ่งก่อสร้างพื้นถิ่นสาหรับพื้นที่ภูมิทัศน์วัฒนธรรมนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เพื่อพัฒนาเรือนค้าขายและประเมินการรับรู้ของผู้บริโภคต่อรูปแบบเรือนค้าขายหลังการเข้าใช้งานที่ตระหนักถึงความสอดคล้องกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม มีคุณค่าทางมรดกสิ่งก่อสร้างพื้นถิ่น มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งาน และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) กลุ่มผู้กาหนดนโยบาย จานวน 5 คน 2) กลุ่มผู้ให้บริการ
ร้านค้าปลีก จานวน 5 คน 3) กลุ่มผู้บริโภค 60 คน 4) กลุ่มตัวอย่างเรือนค้าขายในบริเวณพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเมืองพระนครศรีอยุธยา จานวน 5 ร้าน และ 5) กลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า จานวน 400 คน การดาเนินการวิจัยประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร และการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์ สอบถาม และการสารวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ คือ1) แบบสอบถามความคิดเห็นในการกาหนดแนวทางการออกแบบ 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 3) แบบสารวจรูปแบบเรือนค้าขาย 4) แบบประเมินรูปแบบเรือนค้าขายโดยผู้เชี่ยวชาญ 5) แบบประเมินการรับรู้รูปแบบเรือนค้าขายหลังการเข้าใช้งานจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินการรับรู้ของผู้บริโภคต่อรูปแบบเรือนค้าขายหลังการใช้งาน
มีการรับรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการรับรู้ในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และผู้บริโภคสัญชาติต่างกัน การรับรู้รูปแบบเรือนค้าขายต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้บริโภคเพศต่างกัน การรับรู้รูปแบบเรือนค้าขายไม่ต่างกัน

References

Asasongtham, J. (2000). Management retail
2000s. Executive Journal. Vol.20
No.1 p.43.
Horayangkura, V. (1998). Human Behavior
and Environment behavioral basis
for design and planning. Bangkok:
Chulalongkorn University Press.
National Statistics Office Ayuttaya. (2014).
Tourism statistics report. On 15
March 2014. From http://ayuttaya.
old. nso.go.th/search option/search
result.jsp
Panin, O. and Jiratatsanakul, S. (2001).
Trading house indigenous
community in the city.Bangkok: J.
Print Publisher.
Petcharanon, A. (19 96 ) . Interior
Architectural Design.Bangkok: King
Mongkut's Institute of Technology
Ladkrabang.
Pimonsathean, Y.(1997). Urban
Revitalization and Urban
Conservation. Bangkok. n.p.
Sihanantavong, S. (2000). A Study for
Concept in Conservation of "SIM"
in The Northeast of Thailand.
Bangkok: Chulalongkorn University.
Soodsang, N. (2005). Industrial Design
Research. Bangkok: Odeon store
publisher.
Thaitakoo, D. (2006). Strategies for
Conservation Development
Center in The City's History.
Article scholarly debate Faculty of
Architecture Chulalongkorn
University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2019

How to Cite

เพียรการค้า ว., & สุดสังข์ น. (2019). การพัฒนาเรือนค้าขายจากมรดกสิ่งก่อสร้างพื้นถิ่นสาหรับพื้นที่ภูมิทัศน์ วัฒนธรรมนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(3), 145. https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i3.214594