การพัฒนาแบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • อุไร จักษ์ตรีมงคล

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214732

คำสำคัญ:

ความสามารถทางวิชาชีพครู, การพัฒนาแบบวัด

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครู โดยตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครูที่สร้างขึ้น รวมทั้งสร้างเกณฑ์ปกติเพื่อแปลความหมายคะแนน กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นนิสิตและนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 2,463 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบวัดชนิดสถานการณ์ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ เป็น
แบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครูตามกรอบแนวคิดของ Bonni Gourneau ซึ่งประกอบด้วย ความมีเมตตากรุณา และปรารถนาดีต่อผู้อื่น การรู้จักแบ่งปันความรับผิดชอบ การเข้าใจและยอมรับผู้อื่น การมี
ความรักที่จะแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น และการส่งเสริมให้ผู้อื่นมีความคิดสร้างสรรค์

           ผลการศึกษาพบว่าแบบวัดมีค่าความเชื่อมั่น (-Coefficient) เท่ากับ .731 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมในแต่ละคุณลักษณะ อยู่ระหว่าง .338 ถึง.626 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อ มีข้อคำถามหรือสถานการณ์ที่มีค่าอำนาจจำแนกตามเกณฑ์จำนวน 27 ข้อ การวิเคราะห์หาหลักฐานเพื่อยืนยันคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงตรงเชิงสภาพ พบว่า ผู้ที่ศึกษาวิชาชีพครูมีคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากแบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครูสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ศึกษาวิชาชีพครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มที่กำลังศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 5 มี
คะแนนเฉลี่ยที่ได้จากแบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครูสูงกว่ากลุ่มที่กำลังศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 4อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการสร้างเกณฑ์ปกติพบว่าคะแนนที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างสามารถแปลงเป็นคะแนนทีปกติเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลได้โดยมีค่าคะแนนทีตั้งแต่ 3.04 –
73.90

References

Gourneau, B. (2005). “Five Attitudes of
Effective Teachers: Implications for
Teacher Training”. Essays in
Education. vol.13, p. 1-8.
Illinois State Board of Education
Illinois.(2014) Certification Testing
System STUDY GUIDE Assessment
of Professional Teaching Retrieved
October 23, 2014,
fromhttp://www.icts.nesinc.com/PD
Fs/IL_field101-104_SG.pdf
Archkarabavorn, T. (1999). A teacher.
3
rdedition. Bangkok: polpim.
Jamornmarn, U.. (1994). The
research of teachers.
Chulalongkorn University.
Jantarakantee, E., Faikhamta, C. and
Roadrangka, V. (2012).The State of
Field Experience Management in
Five-Year Teacher Education
Program: A Case of Observation and
Teaching Practice Course. Journal
of Humanities and social sciences
Mahasarakham University 31(2):
150-165.
Onsawat, A; et al.. (2009). Synthesis
Elements of professional
aptitude. Research funded by the
National Institute of Educational
Testing Service (Public
Organization).
Office of the Permanent Secretary, Ministry of
Education. (2016). Education
Development Plan of the Ministry
of Education, Eleventh Edition
(2009-2016). Retrieved February 11,
2016, from
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/plan
ning/m1_m1/m1_m11/05_plan.pdf
Siripool, K. (2531). The teachers. The
Department of Basic Education.
Department of Education Teachers
College Bgansomedeh University.
Supametree, T. (1992).
Comparison."Attitude on teachers
and teacher characteristics" of
students before and after Field
Experience. Faculty of Education,
Teachers College Thonburi. The
research was funded by the
Department of Teacher Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2018

How to Cite

จักษ์ตรีมงคล อ. (2018). การพัฒนาแบบวัดความสามารถทางวิชาชีพครู. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1). https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214732