สื่อพหุมิติปฏิสัมพันธ์สำหรับการศึกษาภควันตภาพ ในบริบทห้องเรียน“ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้านวิชาทฤษฎีครูช่าง
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v8i1.214819คำสำคัญ:
การศึกษาภควันตภาพ, สื่อพหุมิติปฏิสัมพันธ์, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิชาทฤษฎีครูช่างบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในบริบทห้องเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิชาทฤษฎีของครูช่าง โดยการใช้สื่อพหุมิติปฏิสัมพันธ์ (Interactive and Hyper Media) และการศึกษาภควันตภาพ (Ubiquitous or Pakawantology) ในการสนับสนุนสำหรับประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทห้องเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิชาทฤษฎีของครูช่าง ได้มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนและสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน โดยมีวิธีดำเนินการบูรณาการให้สอดคล้องกับหลักการแนวคิดและทฤษฎีรวมถึงบทบาทในการสร้างภควันตภาพทางการศึกษาทั้ง 6 ประการ อันได้แก่ เป็นศูนย์การเรียน (Learning Center) สำหรับนักเรียนนักศึกษา, เป็นแหล่งเชื่อมต่อกับศูนย์ความรู้ออนไลน์ (Online Knowledge Center), เป็นเวทีการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายสื่อสังคม, เป็นห้องปฏิบัติการเสมือนจริง (Virtual Laboratory), เป็นแหล่งทำโครงการนวัตกรรมและเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลการวิจัยสำหรับการศึกษาหาความรู้ประกอบการค้นคว้าวิจัย โดยแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ล้วนสอดคล้องกับหลักจิตวิทยาสำหรับการใช้สื่อพหุมิติปฏิสัมพันธ์และการศึกษาภควันตภาพทั้งสิ้นซึ่งส่งผลให้ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านวิชาทฤษฎีของครูช่างมีคุณภาพ มีความทันสมัยและปรับตัวให้ก้าวทันเหมาะสมกับสังคมแห่งยุคเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันมากขึ้น
References
Efficiency, Effectivenessand
Efficiency of Instruction. Search
on[21 September2558] Available
from[http://blog.msu.ac.th/?p=5375]
Panich, V. (2555). Way of Learning for
Students in the 21st
Century.Bangkok: Sodsri-Saritwong
Foundation.
Khawloueng, D. (2549). Integrating
Multimedia and Hypermedia for
Teaching and Learning.Journal of
Education Burapha University, 18
(1),June–October. 29-44.
Brahmawong, C.. (2555). The Future of
Thailand to Ubiquitous,Operating
Manual Training Integrated Portable
Computing (Tablet) to enhance
Teaching and Learning.Bangkok: The
Technology for Teaching - Office of
the Basic Education Commission.
Brahmawong, C.. (2555).Illuminating
Science Concept: The Third
Concept of Educational
Technology.Search on [21
September2558] Available from
[http://www.chaiyongvision.com]
Tansriwong, S.. (2538). Teaching
Methods.Bangkok: Sky-Books Thailand
Company.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว