การพัฒนาผลิตภัณฑ์งานไว้อาลัยจากแกลบ : กรณีศึกษาชุมชนบางตาโฉง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.248180คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์ดอกไม้, งานไว้อาลัย, แกลบ, สิงห์บุรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ประโยชน์จากแกลบโดยการทำผลิตภัณฑ์ดอกไม้งานไว้อาลัย และเพื่อถ่ายทอดความรู้ผลิตภัณฑ์ดอกไม้งานไว้อาลัยจากแกลบ สู่กลุ่มเป้าหมาย พบว่า การใช้ประโยชน์จากแกลบโดยการทำเป็นผลิตภัณฑ์ดอกไม้งานไว้อาลัยจากแกลบ ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ท่าน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของสูตรดินปั้นที่จะนำประดิษฐ์ดอกไม้ไว้อาลัยจากแกลบ จำนวน 5 สูตร พบว่า สูตรที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด ( x ̅4.44) อยู่ในระดับมาก เนื่องจากด้านผิวสัมผัสเนื้อดินมีความนุ่มไม่แข็ง สามารถขึ้นรูปได้ไม่ติดมือ ปั้นขึ้นรูปได้ไม่แห้งก่อนงานเสร็จ ด้านความยืดหยุ่น เนื้อดินมีความเหนียวเกาะตัวกันดี สามารถนวดคลึงได้เป็นเนื้อเดียวกันไม่แยกออกจากกัน ด้านการทรงตัวปั้นขึ้นรูปได้ดี ไม่หดตัวตามมือ ไม่มีรอยแตกร้าว และสีของเนื้อเป็นธรรมชาติ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญเลือกลักษณะดอกที่เหมาะสมสำหรับการทำพวงหรีด ได้แก่ ดอกเด่น ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกลิลลี่ (ร้อยละ 42.85) รองลงมาดอกกล้วยไม้แคทลียา (ร้อยละ 28.57) ดอกเสริม ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกกุหลาบ (ร้อยละ 42.86) รองลงมา ดอกลีลาวดี (ร้อยละ 28.57) ดอกแซม ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกแก้ว ดอกหญ้า (ร้อยละ 28.57 เท่ากัน) สำหรับลักษณะดอกที่เหมาะสมสำหรับการทำดอกไม้จันทน์ ได้แก่ ดอกเด่น ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกกุหลาบ ดอกลีลาวดี (ร้อยละ 42.86 เท่ากัน) ดอกแซม ผู้เชี่ยวชาญเลือก ดอกแก้ว (ร้อยละ 57.14) รองลงมา ดอกยิปโซ (ร้อยละ 28.57) ซึ่งดอกไม้ที่เลือกสามารถประดิษฐ์ได้ไม่ยาก และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จากนั้นนำไปจัดทำผลิตภัณฑ์พวงหรีด จำนวน 3 รูปแบบ และดอกไม้จันทน์ 3 รูปแบบ การถ่ายทอดความรู้ผลิตภัณฑ์ดอกไม้งานไว้อาลัยจากแกลบ สู่กลุ่มเป้าหมายจากขอบเขตที่กำหนดไว้ คือ วิสาหกิจชุมชนบางตาโฉง และบุคคลทั่วไปในอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 50 คน เพื่อต่อยอดองค์ความรู้จากการวิจัย เป็นการเสริมรายได้ให้ชุมชน ด้วยการนำวัสดุที่เป็นของเหลือใช้ในท้องถิ่น มาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ ทางกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅4.50) ส่วนความพึงพอใจต่อการจัดโครงการวิจัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅4.67) และความความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ 4.64)
References
Agricultural Office of Singburi Province. (2017). Provincial development plan 2018-2021 Singburi Province. Retrieved May 30, 2018, fromhttp://www.singburi.doae.go.th/main/.
Ekarin Sianhakarn. (2010). Thai clay crafts a case study of thai clay handicrafts, OTOP in Samut Songkhram, Nonthaburi and Bangkok (Bachelor’s Thesis). Srinakarin Wirot University. Bangkok.
Kanwan Kanthakan. (2014). Development of clay for artificial products (Master's thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Bangkok.
Krisana Chuchonak. (2017).Development of clay from the oasis (Master's thesis). Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Bangkok.
Ministry of Education. (1997). Craft of jasmine flowers from bread flour. Bangkok: Grammy reed tree.
Ministry of Industry. (2012). Handicrafts. Retrieved July 16, 2018, from http://www.dip.go.th.
Nanthana Rangchangkun. (1988). Principles and Guidelines for evaluating executive training programs. Bangkok: Ministry of Public Health.
Paiboon Amornprapha. (2011). The meaning of puff pastry. Retrieved May 21, 2018, from https://phaiboon01.wordpress.com/2011/02/16/.
Ratanaporn Thepsanit and Prena Obuan. (1994). Animal sculpture from Thai clay. Bangkok: Phetkarat.
Rattanalak Panjawutipat. (2006). Flower Decoration. Bangkok: Petchrakang.
Reangluck Rochanaphan. (1986). Training technique: Clay. Bangkok: Srinakharinwirot University.
Samanjit Inchompoo. (1984). Principles of flower arrangement. (2nd ed.). Bangkok: Burasas.
Sethaman Kanjanakul. (2003). Japanese clay molding techniques. Bangkok: Art Publishing House.
Somporn Yingcharoen. (1992). Artificial flowers. Bangkok: Dan Suttha Press.
Songklod Jarusombuti. (2003). Studying the potential of wood substitutes for composite panels from waste materials: A case study of rice husk (Technical report). Bangkok: Kasetsart University.
Sopa Ketsuwan. (2012). Research, design and development of home decoration products made from agricultural waste material from rice harvest (Master’s thesis). Silpakorn University, Bangkok.
Suwit Saengchai. (2010). Artificial flower. Bangkok: Appa.
Thanawat Wongpudr. (2013). Development of the clay from the pencil for invention (Bachelor’s thesis). Rajamangala University of Technology. Bangkok.
Thanong Thongtem. (1980). Problems of training administration for personnels a case study of metropolitan electricity authority (Master’s thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
Trueplookpanya. (2009). Knowledge of artificial works. Retrieved July 16, 2018, from http://www.trueplookpanya.com.
Utai Parinyasutinun. (2017). Community enterprise: The paradox of the competition of business. Silpakorn University Journal (Thai Version), 37(2), 131-150.
Worachaya Chanthapraphaporn. (2009). Purchasing behavior of artificial flowers among foreign tourists in Chiang Mai (Master's thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว