การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมไม้ไผ่ขดลวดลายล้านนา ด้วยเทคนิคเดคูพาจ ชุมชนบ้านร้องดอนชัย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ ใจทน คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สุชีรา ผ่องใส คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • กิตติ ยอดอ่อน คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • อัมพวัน ยันเสน คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.248183

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไม้ไผ่ขด, ลวดลายล้านนาด้วยเทคนิคเดคูพาจ, ชุมชนบ้านร้องดอนชัย, อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้ออกแบบลวดลายไทยล้านนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการตกแต่งผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไม้ไผ่ขดโดยใช้เทคนิคเดคูพาจ พร้อมกับวัดความพึงพอใจของผู้บริโภคที่ และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมไม้ไผ่ขดลวดลายล้านนาด้วยเทคนิคเดคูพาจในการเก็บข้อมูล ใช้แบบสอบถามวัดความพึงพอใจกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา พบว่าศึกษาและออกแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา โดยเลือกจากแหล่งศาสนาสถานที่สำคัญ จำนวน 3 วัด ได้แก่ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดดวงดี และวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร แต่ละวัดมีความโดดเด่นทางด้านงานศิลปวัฒนธรรมของชาวล้านนาที่แตกต่างกันออกไป วัดพระสิงห์วรมหาวิหารโดดเด่นทางด้านลวดลายปูนปั้น วัดดวงดี โดดเด่นทางด้าน ลวดลายแกะสลักจากไม้ที่มีความงดงามอ่อนช้อยวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร โดนเด่นทางด้าน ลวดลายคำหรือลายลงรักปิดทอง โดยได้นำทั้ง 3 วัด มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ และพัฒนาเป็นลวดลายที่ใช้ในการประดับตกแต่งผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไม้ไผ่ขดลวดลายล้านนา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน ผลิตภัณฑ์ของขวัญของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 25 คน มีความพึงพอใจความพึงพอใจ ต่อโครงการวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไม้ไผ่ขดลวดลายล้านนา ด้วยเทคนิคเดคูพาจ ชุมชนบ้านร้องดอนชัย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านเนื้อหาสาระของหลักสูตร ด้านการออกแบบ ด้านวิทยากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านคุณค่าและประโยชน์ใช้สอย มีคะแนนความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด จากทุกข้อของการประเมิน สำหรับคะแนนเฉลี่ยรวมจากทุกข้อที่ประเมินแต่ละด้านพบว่า ทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Atom. (2014). Lacquerware mades from Khod bamboo of Chiang Mai. Retrieved May 13, 2017, from http://lacquer57.blogspot.com.

Decorative Arts for Decopage: History and background. (n.d.). Retrieved May 13, 2017, from http://department.utcc.ac.th.

Janya Lumlert. (2010). Invention design. Retrieved May 30, 2017, from http://www.kr.ac.th/wai/show.php?id=392.

Jirapat Kaewsrithong. (2010). The effect of using the training program on artificial arts for the elderly in the elderly welfare development center, Ban Bang Khae Bangkok (Master’s thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Bangkok.

Marut Choktrakulpaisarn and Chana Kijbunkong. (2017). The product is blown from recycled paper using paper masse and decoupage techniques (Master’s thesis). Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Bangkok.

Nathaya Phurahong. (2004). Development of a group of professionals in bamboo coiling. Sriphan kitchen community Tha Sala Subdistrict, Mueang District Chiang Mai Province. (Master’s thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.

Nom thipPanya. (2017, May 20). Interviewed by Anusorn Jaiton [Mobile sound resocding]. Chairman of the Bamboo Coiled Community Enterprises Group Ban Rong Don Chai Community, Pa Bong Sub-district, Saraphi District, Chiang Mai.

Supaporn Chaowang. (2009). Application folk wisdom in the development commercial wickerworks, Nakhon Ratchasima Province (Master’s thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Wipha Kaewpankan. (2009). Guidelines for conservation and development of handicrafts: Bamboo basketry in Nakhon Ratchasima Province (Master’s thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Yuttaphum Chumphurat and Chat Phet Chomjai. (2014). Development of Lanna lacquerware pattern with decoupa art (Master’s thesis). Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2021

How to Cite

ใจทน อ. ., สีหะวัฒนกุล ป. ., ผ่องใส ส. ., ยอดอ่อน ก. ., & ยันเสน อ. . (2021). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมไม้ไผ่ขดลวดลายล้านนา ด้วยเทคนิคเดคูพาจ ชุมชนบ้านร้องดอนชัย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 69–81. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.248183