ความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของผู้ปกครองท้องที่ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ทุ่งเขาภูทอง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ชุติกาญจน์ จุ้ยช่วย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรนันท์ กลันทปุระ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.250436

คำสำคัญ:

บทบาทผู้ปกครองท้องที่, ที่ดินสาธารณประโยชน์, ประชาชนในตำบลกลอนโด, กาญจนบุรี

บทคัดย่อ

               การวิจัยศึกษาสภาพปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ พร้อมวัดระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของผู้ปกครองท้องที่ เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของผู้ปกครองท้องที่ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ทุ่งเขาภูทอง จังหวัดกาญจนบุรี

              ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ตามสูตรของยามาเน่ โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ปลัดอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 4 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์

              ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาเกิดจากหลักเขตไม่ชัดเจน มีการโยกย้ายทำลายหมุดแนวเขต เจ้าหน้าที่มีการผลัดเปลี่ยนตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านบางรายมีผลประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวทำให้ชาวบ้านไม่ไว้วางใจ สอดคล้องกับระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของผู้ปกครองท้องที่ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ทุ่งเขาภูทอง จังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด จากการศึกษายังพบอีกว่าประชาชนในตำบลกลอนโด อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรีที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในตำบลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้ปกครองท้องที่ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ทุ่งเขาภูทองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่คาดว่าน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการบุกที่สาธารณประโยชน์บริเวณดังกล่าวอย่างยั่งยืน เช่น ควรทำการรังวัดแนวเขตให้ชัดเจน รวมถึงทำหนังสือแจ้งผู้ที่ครอบครองอยู่ให้ดำเนินการรื้อถอน หากพื้นที่ใดมีการออกโฉนดไปแล้วต้องเพิกถอนโฉนดแปลงนั้นและจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์แต่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เป็นกลุ่ม / ชุมชน / สหกรณ์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ คทช. กำหนด

References

Chaluay Puangplab. (2005). The role of sub-district headman and village headman: Case study of Khlong Hoi Khong District, Songkhla Province (Master’s thesis). Burapha University. Chonburi.

Community Development Danmakhamtia District Office. (2020). Amount of population in 2020. Kanchanaburi: Author.

Department of Land. (2018). Guidelines for solving problems with the public lands. Bangkok: Author.

Department of Local Administration. (2006). Local Development plans (strategies plan: three years development and action plan). Bangkok: Department of Local Administration.

Jareerat Soisermsap. (2010). Legal measures enforcement of public land trespass in thailand. Hatyai Academic Journal, 8(2), 75-84.

Kanha, N. (2007). Operational manual for the care and protection of public land. Bangkok: Department of Lands.

Ministry of Interior. (2017). Operational guideline for lands of sub-district headman and village headman. Bangkok: Author.

Phrueksa Krueasaeng, Worraya Jatupatrungsri and Ponsawan Maneethong. (2019). The study for administrative managements to problems of public domain encroachment in Lampang’s local municipality. Journal of Thai Ombudsman, 12(1), 22-45.

Siamrathonline. (2020, 7 June). Don Sawang Villager, Dan Makham Tia district, Kanchanaburi invaded the district, demanding for accuracy about the capitalist pushes the public land. Siamrath. Retrieved June 16, 2020, from https://siamrath.co.th/n/202816.

Somchai, B. (2005). A study of solutions to solve the problem of public lands: a case study of the animal reserve at Kamala Village, Moo 3, Kamala Sub-district, Kathu District, Phuket Province (Master’s thesis). Burapha University. Chonburi.

Supanee Ketsarin, Niwat Sawatkaew, Pornchai Likithumaroj, and Sarunruk Thepwarin. (2014). Comparison of headmen’s educational level of conflict solution in community case study: Tung-Song District, Nakornsri-Thammarat. In 5th National and International Hatyai Conference (pp. 576-585). Hatyai: Hatyai University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2021

How to Cite

จุ้ยช่วย ช. ., & กลันทปุระ อ. . (2021). ความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของผู้ปกครองท้องที่ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ทุ่งเขาภูทอง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 169–184. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.250436