ประเด็นปัญหาด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญากู้ยืมเงินอิเล็กทรอนิกส์ ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กรณีศึกษากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

ผู้แต่ง

  • มนเฑียร แสงทิม วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ชุติมา เบี้ยวไข่มุข วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.250448

คำสำคัญ:

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา, สัญญาอิเล็กทรอนิกส์, ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

               การศึกษานี้เน้นวิเคราะห์กระบวนการทำสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา พร้อมกับวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญากู้ยืมเงิน และสัญญากู้ยืมเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประเด็นปัญหาทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญากู้ยืมเงินอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อนำเสนอแนวทางเพื่อลดปัญหาด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญากู้ยืมเงินอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในอนาคต เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย วารสาร วิทยานิพนธ์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายและกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ ผู้บริหารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านกฎหมาย ด้านการดำเนินคดีและการบังคับคดี รวมถึง  ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์

              พบว่าการมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของการทำสัญญากู้ยืมเงินอิเล็กทรอนิกส์   ไม่เป็นปัญหา แต่การรับฟังและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้กู้ยืม ผู้ปกครองและผู้ค้ำประกัน การระบุและการพิสูจน์ตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ การรับรองความถูกต้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงเป็นปัญหาเกี่ยวกับการทำสัญญากู้ยืมเงินอิเล็กทรอนิกส์ของ กยศ. ดังนั้น จึงต้องมีเตรียมการในเรื่องของการตรวจสอบและการควบคุมการจัดการของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานทางเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานสากล รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้านกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการดำเนินการในอนาคต

References

Bank of Thailand. (2016, 6 July). Regulations on Acceptance of Deposits or Money from the Customers (Notification No. FPG. 7/2559). Bangkok: Author.

Electronic Transactions Act, B.E. 2544. (2001). Royal Gazette. Vol.118 Part 112a, pp. 26.

Electronic Transactions Act (No. 4), B.E. 2562. (2019). Royal Gazette. Vol.136 Part 67a, pp. 203.

Electronic Transactions Development Agency. (2018). ETDA recommendation on ICT standard for electronic transactions: Digital identity guideline for Thailand – Enrolment and identity proofing digital (version 1.0) and identity guideline for Thailand (authentication version 1.0). Bangkok: ETDA.

Kovit Nhooyome. (2008). Admissibility of electronic records as evidence in civil cases (Master’s thesis). Thammasat University. Bangkok.

Office of the Council of State. (1992). Civil and Commercial Code, B.E. 2535, (1992). Royal Gazette. Vol.169 Part 42, 106-107.

Pitsarn Phanwattana. (2019). The reliability of an electronic document for witness evidence. Journal of Criminology and Forensic Science, 5(1), 142-161.

Sansern Siriwan.(2011).Problem on admissibility of evidence in electronic contracts (Master’s thesis). Bangkok University. Bangkok.

Student Loan Fund. (2019). Student loan fund manual for academic year 2019. Retrieved June 17, 2019, from https://www.studentloan.or.th/.

Suthada Watthanawichian. (2011). Listening and weighing of evidence in electronic form. Bangkok: National Justice Academy, Office of the Judiciary.

Vichuda Rattanapian. (2014). Legal trouble regarding the electronic contracts. Bangkok: National Justice Academy, Office of the Judiciary.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2021

How to Cite

แสงทิม ม., & เบี้ยวไข่มุข ช. . (2021). ประเด็นปัญหาด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญากู้ยืมเงินอิเล็กทรอนิกส์ ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กรณีศึกษากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) . วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(1), 185–198. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i1.250448