อัตลักษณ์ของชุมชนสามแพร่งและชุมชนบางลำพูกับการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดการท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • มนัญชยา เพชรูจี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ผกามาศ จิรจารุภัทร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • จีรวัฒน์ วันทา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.250854

คำสำคัญ:

ชุมชนสามแพร่ง, ชุมชนบางลำพู, เทศกาลศิลปะ, การสร้างสรรค์การแสดงนาฏดนตรี, อัตลักษณ์ชุมชน, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

อัตลักษณ์ของชุมชนสามแพร่งและชุมชนบางลำพูกับการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดการท่องเที่ยว เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรื้อฟื้นและพัฒนาอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว “พระนครโมเดล” ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนสามแพร่งและชุมชนบางลำพูกับการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างประชากรผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การศึกษาจากเอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการณ์ การทดลองสร้างสรรค์การแสดงและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ของชุมชนสามแพร่งและชุมชนบางลำพูสอดคล้องกับการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ บ-ว-ร (บ้าน วัด วัง) เป็นชุมชนที่ให้ความสำคัญกับวิถีชีวิต ทุนทางวัฒนธรรม รากเหง้า และอัตลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชน ประกอบกับเป็นชุมชนที่มีความสำคัญ มีวิวัฒนาการจากอดีตจนถึงปัจจุบันทั้งในมิติทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ชุมชนสามแพร่งนำเอากิจการทางศิลปะมาเป็นเครื่องมือในการรื้อฟื้นและพัฒนาชุมชน และได้รับความนิยมต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานับ 10 ปี กลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้วิถีชุมชนดั้งเดิม ปลุกลมหายใจของย่านการค้าเก่ายุคกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาให้กลับมามีชีวิตชีวา ส่งเสริมให้ชุมชนสามแพร่งเป็นที่รู้จักและเป็นแลนด์มาร์คหนึ่งในรายการท่องเที่ยวเมืองหลวงย่านชุมชนเก่าแก่ของเมืองไทย สอดคล้องกับการสร้างสรรค์การแสดงนาฏดนตรีสู่ “บางลำพูยอดรัก” ที่ถูกนำมาสร้างสรรค์ไหม่เพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของชุมชนบางลำพูไปสู่ผู้เยี่ยมชม การแสดงชุดนี้แฝงไปด้วยจารีตของการแสดงลิเกที่ผสมผสานลักษณะการขับร้องแบบจารีตและการแร็พแบบตะวันตก ชี้นำให้เกิดการตระหนักรู้คุณค่าทางศิลปะการแสดงที่หาค่าไม่ได้ผ่านศิลปะการแสดง เปรียบเสมือนแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่การเป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

References

Auntielucyblog. (2016). Features of Bang Lamphu. "The area of cultural integration." Retrieved April 19, 2021, from https://auntielucyblog.wordpress.com/2016/04/30/. (in Thai)

Chamnian, M. (2019). Community identity communication for tourism promotion. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University, 6(1), 235-256. (in Thai)

Din-A, A. (2008). Cultural management: Cultural diversity in Southeast Asia. Retrieved October 25, 2020, from http://prachatai.com/node/18269/talk. (in Thai)

Gratisod. (2016). Bangkok 360 degree tour "Bang Lamphu, the old breath of the past and the last Lamphu legend.” Retrieved April 22, 2021, from https://pantip.com/topic/35308162/page. (in Thai)

Kaewthep, K. (2006). Research reports on under the sky of study Individual media and communication networks from research work. Bangkok: Thailand Research Fund. (in Thai)

Kanjanapho, M., & Rotjanasuksomboon, A. (2020). Likay dance of Denchai Aneklaap. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning Sukhothai Thammathirat Open University, 10(2), 208-214. (in Thai)

Kohen, A. (2016). Sam Prange past to present: Changes and adaptation amid city (Bachelor’s thesis). Silpakorn University, Nakhon Pathom.

Laksanasamrith, E. (2015). Old city creative arts festival "Sam Prange facestreet.” Retrieved April 21, 2021, from https://dsignsomething.com/2015/11/23/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%81. (in Thai)

MGR Online. (2016). Walk around the old district "Sam Phraeng", experience the classic architecture in the middle of the city. Retrieved February 18, 2021, from https:// mgronline.com/travel/detail/9590000048328. (in Thai)

Office of the Central Islamic Committee of Thailand. (2016). Chakrapong Mosque (Chakrabongse). Retrieved April 22, 2021, from https://www.cicot.or.th/th/mosque/detail/334/2/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0. (in Thai)

Ongkrudraksa, W. (2018). Managing the desirable image and identity of products and organizations. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Phuedphanphaisan, C. (2017). Removal of knowledge local knowledge and ways to develop community groups to be ready for management creative tourism case study: Muslim community culture Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. ARU Research Journal Humanities and Social Sciences, 4(3), 47-54. (in Thai)

Pothongsaengarun, P. (2014). Sam Prange and community revitalization: The discursive practices for coexistence through cultural capitals. Journal of Language and Culture, 33(2), 21-44. (in Thai)

Siam Commercial Bank. (2021). Travel along the alley ... Exit from Bang Lamphu. Retrieved April 22, 2021, fromhttps://www.scb.co.th/th/personalbanking/stories/travelbanglumpoo.html. (in Thai)

Silpaee, O, Likkhachai, P, Rungrod, N., & Chantakun, C. (2020). Sanae Bang Lamphu: Participate in people who create Bang Lamphu. Retrieved April 19, 2021, from https://www.facebook.com/sanaebanglumphu. (in Thai)

Sompaiboon, S. (2015). Creation of contemporary Thai Likay from foreign plays. Music and Performing Arts Journal, 1(1), 142–164. (in Thai)

Suwankan, K. (2016). Sam Prange the colors of the part: Cantilevered living with cultural capital. Retrieved April 21, 2021, from https://lekprapai.org/home/view.php?id=181. (in Thai)

Temiyasilpin, N. (2016). Sam Prange community art (Bachelor’s thesis). Silpakorn University, Nakhon Pathom.

Virasilchai, S. (2013). Chue Ban Nam Muang Nai Krungtep. Bangkok: Matichon. (in Thai)

Virojtrairatt, U. (2021). Bang Lamphu today with Thai and international community ways. Retrieved April 19, 2021, from https://www.facebook.com/uajit.virojtrairatt. (in Thai)

Wilainuch, P. (2014). Corporate communication management: Communicating with stakeholders. Bangkok: Active Print. (in Thai)

Yieow Deuav Kao. (2015). Hey! Khao San Road. Retrieved April 22, 2021, fromhttp://hawkof9.blogspot.com/2015/03/blog-post_9.html. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2021

How to Cite

เพชรูจี ม., จิรจารุภัทร ผ. ., & วันทา จ. . (2021). อัตลักษณ์ของชุมชนสามแพร่งและชุมชนบางลำพูกับการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดการท่องเที่ยว. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 70–95. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.250854