การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่ง ในมิติการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บ้านทุ่งสีหลง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ณัฐชา ลี้ปัญญาพร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปริญญา หรุ่นโพธิ์ สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.251832

คำสำคัญ:

ทุนทางวัฒนธรรม, ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เศรษฐกิจชุมชน, ลาวครั่ง, นครปฐม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ ศึกษาทุนวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่ง และแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนบ้านทุ่งสีหลง  อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนที่อยู่ในชุมชนบ้านทุ่งสีหลง จำนวน 18 คน พบว่า ทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่งมีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ที่เด่นชัดและเป็นทุนของตัวเอง แบ่งออกเป็น ที่จับต้องได้ มีองค์ประกอบของทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ดังที่เห็นได้ มีที่เป็นมรดกตกทอด เกิดเป็นภูมิปัญญาของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีเอกลักษณ์พิเศษเป็นการกระทำของมนุษย์ที่เป็นวิถีชีวิตที่มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่น ประกอบไปด้วย ภาษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ดนตรี และพิธีกรรม ภูมิปัญญามีทั้งภูมิปัญญาดั้งเดิมและภูมิปัญญาสมัยใหม่ รูปแบบของทุนแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ สิ่งที่ฝังอยู่ในคนหรือกลุ่มคน เช่น ความคิด ความเชื่อ และสิ่งที่มีรูปลักษณ์เป็นตัวตน เช่น อุปกรณ์จากงานจักสาน ลายผ้าที่เกิดจากการทอผ้า และแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน ปราชญ์ และประชาชนในชุมชน ร่วมทั้งต้องมีแรงสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ พร้อมทั้งมีดำเนินการอย่างต่อเนื่องถึงจะยั่งยืนเพราะในชุมชนมีทั้งจุดเด่น จุดแข็ง ของทุนทางวัฒนธรรมลาวครั่ง ที่สามารถพัฒนาและต่อยอดเป็นสินค้าสร้างสรรค์นำไปสู่เศรษฐกิจชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพสามารถนำรายได้เข้าสู่ชุมชน เพราะเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีผลต่อการใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แนวทางที่ได้สรุปและเสนอแนะมี 4 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านบุคลากร 2. ด้านงบประมาณ 3. ด้านการจัดการ 4. ด้านการมีส่วนร่วม และข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ดังนี้ ควรมีภาครัฐเข้าการบูรณาการร่วมกันของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยในการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทั้งส่งเสริมให้มีการสร้างงานและกิจกรรมที่ต่อเนื่อง และข้อเสนอแนะสำหรับชุมชน ดังนี้ การบริหารงานในชุมชนด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว และชุมชนควรมีการแบ่งรายได้ที่ชัดเจนมุ่งเน้นประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง

References

Bourdieu, P. (1986). The forms of capital. In J. Richardson (Ed.). Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education. New York: Greenwood.

Department of Cultural Promotion. (2019). Value-to-value culture. Retrieved January 6th. from http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=3972&filename=index (in Thai)

Kosol, C. (2018). Cultural Capital Management of Ethnic Groups in the Northern Region of Thailand, Ph.D. thesis. Rangsit University. (in Thai)

Laothamatas, A. (2017). considers Thai society with wisdom, hope and encouragement. Bangkok. (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Board Office of the Prime Minister. (2017). The Twelfth National Economic and Social Development Plan 2017 – 2021. Retrieved January 6th. From htps://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ ewt_dl_link.php?nid=6422 (in Thai)

Organizations - Open Government Data of Thailand. (2017). Creative Tourism 2017 = Creative tourism / Organizations - Open Government Data of Thailand. Bangkok: Organizations 2017. (in Thai)

Phumvoramuni, S. (2018). Guidelines for the promotion of cultural tourism in Nakhon Phanom Province. Ph.D. thesis. University of Phayao. (in Thai)

Sakulmalaithong, R. (2014). Strategies for enhancing creative culture in Thai institutions of higher education. Ph.D. Chulalongkorn University. (in Thai)

Thampramhom, P. and Taekhanmak, K. (2018). The Development of Community-Based Tourism Based on Lao Ngaew Cultural Capital, Thong En Subdistrict, In Buri District. Singburi Province, research report Thepsatri Rajabhat University. (in Thai)

United Nations. (1981). Yearbook of International Trade Statistics. United Nations: UN Press.

Wongwanich, W. (2003). Geography of tourism. Bangkok: Printing House, Thammasat University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2021

How to Cite

ลี้ปัญญาพร ณ., & หรุ่นโพธิ์ ป. . (2021). การศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวครั่ง ในมิติการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน บ้านทุ่งสีหลง อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม . วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 176–195. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.251832