แนวทางการดำเนินงาน เพื่อความสำเร็จในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พิสิษฐ์ บุญถนอม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปริญญา หรุ่นโพธิ์ สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.251930

คำสำคัญ:

ผู้นำชุมชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. แนวทางการดำเนินงาน เพื่อความสำเร็จในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ปัญหา และอุปสรรค ในการดำเนินงานเพื่อความสำเร็จในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีปรากฎการณ์วิทยา ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก จำนวน 20 คน พบว่า 1. การทำงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จต้องมีกระบวนการบริหารจัดการที่มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีทรัพยากรในการบริหารที่เพียงพอพร้อมต่อการทำงาน โดยเฉพาะในด้านของ คน (Man) และวัสดุอุปกรณ์ (Material)  ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการทำงาน ผู้ร่วมงานต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วยความเต็มใจหรือความสมัครใจตามทักษะ ความรู้ความสามารถ เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานสามารถแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในการทำงานได้อย่างอิสระและเท่าเทียมกันโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และมีการสื่อสารอย่างชัดเจนตรงไปตรงมาเกี่ยวกับรายละเอียดของงาน นอกจากนี้ผู้นำชุมชนและผู้บริหารต้องมีการแสดงออกในด้านของภาวะผู้นำ ไม่ยึดติดกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามระเบียบ กฎหมายหรือข้อบังคับ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม รับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานโดยการให้กำลังใจและให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำอย่างไม่ถือตัว และส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานทุกคนได้รับการฝึกอบรมและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ให้ก้าวไปสู่ระดับที่สูงขึ้น และมีศักยภาพเหมาะสมตรงตามความรู้ความสามารถ 2. ปัญหา และอุปสรรคในการทำงานร่วมกัน คือ การการพูดจาและการตกลงกันไม่มีความชัดเจน การมีส่วนร่วมในการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความเต็มใจหรือความสมัครใจของแต่ละบุคคล การปิดบังข้อมูลที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการทำงาน และการไม่ให้ความสำคัญในการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน

References

Lamkong, S. (2016). The administration of the state affairs. Retrieved November 20, 2018, from http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การบริหารราชการแผ่นดิน. (in Thai)

Mato, P., & Thamprahad, P. (2019). Government and government Thai politics. Journal of Research and Academics, 2(1), 171–181. (in Thai)

Nakthon, W. (2007). Local government in Thailand. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Faculty of Humanities and Social Sciences Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (in Thai)

Ngamwutthiwong, K. (2016). Factors affecting teamwork in the office of the administration. office of the permanent secretary, Ministry of Education (Master’s thesis). Thammasat University, Bangkok. (in Thai)

Phuangplub, C. (2005). Role of the village headman: Case study of Khlong Hoi Khong District. Songkhla Province (Master’s thesis). Burapha University, Chonburi. (in Thai)

Suk-iad, S. (2016). Local government. Retrieved November 20, 2018, from http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การปกครองส่วนท้องถิ่น. (in Thai)

Thamma-apipon, S., Onlamai, N., & Tancharoen, J. (2018). Success factors of the Ban Rai Khae elderly club Phetchaburi Province. Veridian E–Journal, Silpakorn University, 11(2), 356-365. (in Thai)

Treeratphichan, N. (2018). Factors affecting the success of sustainable livable municipal projects (Master’s thesis). Thammasat University, Bangkok. (in Thai)

Udomsri, T. (2012). People's participation in local government: A case study of subdistrict administrative organizations in Khlong Bang Pla Kot. Phra Samut Chedi District Samut Prakan Province. Veridian E–Journal, Silpakorn University, 5(3), 220-238. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2021

How to Cite

บุญถนอม พ., & หรุ่นโพธิ์ ป. . (2021). แนวทางการดำเนินงาน เพื่อความสำเร็จในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม . วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 249–266. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.251930