การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านสะนำ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • วิสาขา ภู่จินดา คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ณัฏฐธิดา พัฒนเจริญ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.252386

คำสำคัญ:

การจัดการสิ่งแวดล้อม, ชุมชนท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, จังหวัดอุทัยธานี

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ถอดบทเรียนการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านสะนำ พร้อมกับประเมินความสำเร็จของการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านสะนำ และเสนอแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับชุมชนท่องเที่ยว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และผู้นำชุมชน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวในพื้นที่ 100 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ

          พบว่า ในการจัดการด้านการท่องเที่ยวจะมีการห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวนำขยะมูลฝอยเข้ามาภายในชุมชน มีการคัดแยกขยะของร้านค้า รณรงค์ให้ใช้ใบตองเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม มีหน่วยงานสนับสนุนการรักษาความสะอาด มีการใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก ใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ และรณรงค์การปลูกต้นไม้ ผลสำเร็จของการดำเนินการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณขยะลดลง มีการใช้ภาชนะที่ทำจากใบกาบหมากและใบตอง มีการทำปุ๋ยหมักจากขยะเศษอาหาร ไม่มีการตัดต้นไม้ทำลายป่า เป็นต้น แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับชุมชนท่องเที่ยว จะต้องสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนกับภาคีเครือข่าย นำเสนอด้านบวกของการดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น ทำบุญผ้าป่าขยะ ไม่ทิ้งขยะในชุมชนที่ทำให้ลดการทำลายสัตว์ป่า เป็นต้น

References

Bruner, E. M. (1996). Tourism in Ghana: The representation of slavery and the return of the black diaspora. American Anthropologist, 98(2), 290-304.

Cohen, E. (1996). Thai tourism: Hill Tribes, Island and open-ended prostitution. Bangkok: white Lotus.

Community Development Department. (2018). Maintain the Thai way with affected. Retrieved August, 8, 2018, fromhttp://cbt.nawatwithi.com/view_detail_food.php?food_id=90. (in Thai)

Community Development Department. (2018). OTOP Nawatwithi tourism community project management manual. Retrieved August, 8, 2018, fromhttp://lamphun.cdd.go.th/wpcontent/uploads/sites. (in Thai).

Poboon, C. 2004. Kan Borihan Khrongkan Singwaetlom [Environmental Project Management]. Bangkok: Graduate School of Environmental Development Administration, National Institute of Development Administration.

Suwan, M. (1996). Tourism and impact. Geography Journal, 21(1), 13-16. (in Thai)

Wongtubtim, U. 2003. Khrongsang Kan Prasan Ngan Wichai Lae Phatthana Khrueakhai Kan Thongthiao Doi Chumchon [Project to coordinate research and development of community-based tourism networks Research Fund Office (Regional office)]. Chiang Mai: Chiang Mai University, Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2021

How to Cite

ภู่จินดา ว. ., & พัฒนเจริญ ณ. . (2021). การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านสะนำ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 301–319. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.252386