ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจที่มีต่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน วิชาทักษะการประกอบอาชีพ ของนักศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i1.252476คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, ยะรัง, ปัตตานีบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทักษะการประกอบอาชีพ ของนักศึกษาระดับประถมศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับประถมศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประถมศึกษา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอยะรัง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาทักษะการประกอบอาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for dependent samples
ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทักษะการประกอบอาชีพ ของนักศึกษาระดับประถมศึกษา ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ นักศึกษามีความพึงพอใจโดยภายรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.55
References
Khammani, T. (2017). Teaching science: Knowledge for effective learning process management. Bangkok: Chulalongkorn University Press (In Thai).
Kleab-aim., P. (2012). Effects of Cooperative Learning Management on Learning Achievement Academic report on career and technology work and group working behavior of students, class Secondary School Year 4 (Master of Education). Kamphaeng Phet: Kamphaeng Phet Rajabhat University.
Lahtam., P. (2020). Project-based learning management with academic achievement in food preservation, learning subject Careerand technology for students in Mathayom Secondary 1. Journal of Education, 31(3), 178-189 (In Thai).
Mongkhol, S. (2020). Development of TeachLess Learn More (TLLM) Project-Based Activitiesof Work Career and Technology Learning Area for Grade 5th Students. E- Journal of Education Studies, 2(1), 61-76 (In Thai).
Panich, V. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation.
Photeng, K. (2015). Development of Communication Skills and Project Ability of Vocational Students Taught by Project Approach (Master of Education). Bangkok: Silpakorn University (In Thai).
Punyana., N. (2016). A Study of Project-based Learning Management for Developing the Capability of Technology usage and the mathayomsuksa 3 Students. Journal of Graduate Research, 7(2), 31-45 (In Thai).
The Education Council Office. (2017). National Education Plan 2017-2036. Bangkok: Prik Wan Graphic Company Ltd.
The National Economics and Social Development Council Office. (2018). 20-Year National Strategy 2018-2037. Bangkok: Office of the National Economics and Social Development Council.
The Non-Formal and Informal Education Office related to the Office of the Non-Formal and Informal Education. (2018). National Strategy 2018–2037. Bangkok: Office of the Non-Formal and Informal Education.
Trirattananon, C. (2012). The Development of Life Skills on Guidance Activities for Fifth Grade Students by Project-based Approach (Master of Education). Bangkok: Silpakorn University.
Yarang District Non-Formal and Information Education Centre. (2020). Self-Assessment Report Academic Year 2020. Pattani: Yarang District Non-Formal and Information Education Centre (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว