ผลการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้แต่ง

  • เพ็ญพนอ พ่วงแพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสังคมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยนวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จํานวน 24 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (μ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) พบว่า ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (μ = 2.72)  และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาสารสนเทศและนวัตกรรมทางสังคมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Author Biography

เพ็ญพนอ พ่วงแพ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

อาจารย์สาขาสังคมศึกษา   ภาคหลักสูตรและวิธีสอน  คณะศึกษาศาสตร์  ม.ศิลปากร อ.เมือง  จ.นครปฐม 73000

References

Dechakupt, P. (2011). Create learning innovation: With classroom operations research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House (In Thai).

Hirunchalothorn, P., & Sumalee, S. (2018). Development of Learning Management Innovation to Develop Students’ Thinking Skills in Elementary Level. Silpakorn Educational Research Journal, 10(1), 44-60 (In Thai).

Jedaman, P., Kidrakarn, P., Pimdee, P., Wangsa-ard, K., Sukkamart, A., & Suksup, C. (2016). The Development Education Issue of Thailand 4.0 towards 21st Century. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 2(1), 1-14 (In Thai).

Kwangmuang, P. (2018). THE RESULT OF LEARNER’S CRITICAL THINKING DEVELOPMENT USED WITH CONSTRUCTIVIST LEARNING INNOVATION TO ENHANCE KNOWLEDGE CONSTRUCTION AND CRITICAL THINKING FOR UNDERGRADUATE STUDENT. Panyapiwat Journal, 10(1), 175-184 (In Thai).

Lubbers, C. (2014). Supporting innovation in education. Public Libraries, 53(3), 36-41.

Mangkhang, C. (2017). Learning Innovation to Professional Competency in Teacher Education Institute of Thailand. Veridian E-Journal, 10(3), 317-331 (In Thai).

Phuangphae, P., Smanchat, A., & Tieanwong, K. (n.d.). A study of characteristics of pre-service students in the social studies program, Faculty of Education, Silpakorn University. Silpakorn University Journal, 38(5), 118-127 (In Thai).

Singthong, K., & Namwan, T. (2018). The Development of Creative Leadership Program for Teachers in Schools under Secondary Educational Service Area Office 20. Journal of Roi Et Rajabhat University, 12(1), 161-168 (In Thai).

Sinlarat, P. (2012). CCPR MODEL. Bangkok: Chulalongkorn University.

Songserm, U. (208). The Development of an Instructional Model Innovation based on Theory of Cooperative Learning to Enhance Cognitive Skills on Thai Qualification Framework for Higher Education for Student Teachers. Veridian E-Journal, Silpakorn University., 11(2), 1363-1373 (In Thai).

The Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum.B.E. 2551. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022