PLC ดีจริงหรือกับการพัฒนาการศึกษาไทย

ผู้แต่ง

  • สุพรรณิการ์ ชนะนิล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i1.253188

คำสำคัญ:

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, วิชาชีพครู, การพัฒนาการศึกษา, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

PLC ย่อมาจาก Professional Learning Community หรือชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นการร่วมมือร่วมใจของครู ผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาวิชาชีพจนเกิดเป็นวัฒนธรรมหรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง นักการศึกษาคาดหวังว่า PLC จะเป็นกระบวนการที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาครูได้กับทุกโรงเรียน เนื่องจาก PLC เป็นกระบวนการนำเอาปัญหาเชิงพื้นที่ในบริบทจริงที่เกิดขึ้นมาร่วมแก้ปัญหาและแบ่งเบาความเครียด ความกังวลใจของครูด้วยแนวคิดสุนทรียสนทนา PLC ควรมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ การตื่นตัวที่ผ่อนคลาย การซึมซับการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ซับซ้อน และการพัฒนาประสบการณ์ด้วยกระบวนการเชิงรุก วงจรการปฏิบัติงานของกระบวนการ PLC มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ เล่าเรื่องตามลำดับ สะท้อนแนวคิด ลงมือกระทำด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และ สรุปกิจกรรม สภาวะที่ควรจะเป็นในการใช้ PLC คือ ผู้ร่วมกระบวนการเกิดความรู้สึกปลอดภัย ดำเนินการด้วยบรรยากาศเชิงบวก รักษาเวลา ให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคล และ     ทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และแนวคิดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ กระบวนการ PLC เป็นกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูที่ดำเนินการในห้วงเวลาสั้นแต่ผลของการดำเนินการนั้นยั่งยืน เป็นการดำเนินการพัฒนาในระดับรากหญ้า ครูไทยจึงควรใช้โอกาสนี้ในการพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็นให้เพื่อนร่วมงาน หัวหน้าฝ่าย ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์ได้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน แล้วร่วมกันแก้ไขปัญหา หากปัญหานั้นแก้ไขได้ยาก หน้าที่ของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ คือ การส่งสัญญาณไปยังหน่วยงานลำดับถัดไปด้วยข้อมูล ที่สมเหตุสมผล หากดำเนินการได้เช่นนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า PLC ดีจริงกับการพัฒนาการศึกษาไทย

References

Ahn, J. (2017). Taking a step to Identify how to create professional learning communities-Report of a case study of a Korean public high school on how to create and sustain a school-based teacher professional learning community. International Education Studies, 82-92.

Apiparinya, P., & Sudrung, J. (2019). A Study of the state and problems of professional learning community of schools under the secondary educational service area office 1 and 2 in Bangkok. An Online Journal of Education, 14(2), 1-12 (In Thai).

Caine, G., & Caine, R. (2010). Strengthening and enriching your professional learning community : the art of learning together. Virginia USA: ASCD.

Chatmaneerungcharoen, S., & Thammaprateep, J. (2020). School as Professional Learning Community: The Development of Model of School Professional Learning Community for Sustainable Learning Transformation. .

Jiraro, P., Jenjit, A., & Supervising, A. (2020). Monitoring and Evaluating the Professional Learning Community. Activities Management of Networks with the Financial support of the teachers council of Thailand : A case study of eastern region. Journal of Education Burapha University, 31(3), 12-26 (In Thai).

Lee Davis, S. (2016). How do teacher perceptions of the six, essential professional learning community (PLC) criteria impact the effectiveness of a PLC?. PhD thesis. California: Concordia University Irvine.

Lewis, C. C., & Tsuchida, I. (1997). Planned educational change in Japan: the case of ele-mentary science instruction. Journal of Education Policy, 12(5), 313-331. doi:10.1080/026809397012050

Ministry of Education. (2017). Teachers and Basic Education Personnel Development Bureau. Bangkok: Training Manual Driving the PLC process (Professional Learning Community) to educational institutions (In Thai).

Muneekool, T. (2018). Work Manual Wor21. Songkhla Primary Educational Service Area District Office 2 (In Thai).

Office of the Educational Council. (2019). Thailand Education Status 2018/2019 Education Reform in the Digital Era. Nonthaburee: Pabpim company limited (In Thai).

Othman, S., Jamian, R., Sabil, M., Said, R., & Omar, R. (2019). A Professional Learning Community Strategy Towards Students’ Achievements. International Journal of Innovation. Creativity and Change, 7(7), 16-28.

Owen, S. (2014). Teacher passional learning communities: Going beyond contrived collegiality toward challenging debate and collegial learning and professional growth. Australian Journal of Adult Learning, 54(2), 54-77.

Panyaudomkul, T. (2020). Development guidelines of PLC using process to enhance quality of learning management for teachers in Na-Om school under Phayao Primary Educational service Area office 2. Journal of teacher professional development., 1(1), 45-55 (In Thai).

Parliamentary Budget Office. (2021). Annual Budget Expenditure Analysis Report, Fiscal Year 2021 Ministry of Education. Retrieved from https://www. parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_news.php?nid=919

Parliamentary Budget Office. (2021). Statistics of budget expenditures for the fiscal year 2020-2022. Bangkok: Chulalongkorn University Pres (In Thai).

Stigler, J., & Hiebert, J. (1999). The teaching gap: Best ideas from the world’s teachers for improving education in the classroom. New York: The Free Press.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2021). Teacher Empowerment Program for Teacher Competencies in the New Era for 21st Century Learning. Bankok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2022

How to Cite

ชนะนิล ส., & เนตรถนอมศักดิ์ ธ. . (2022). PLC ดีจริงหรือกับการพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 68–81. https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i1.253188