เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมความสุข ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี ผิวงาม โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.253602

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, เกณฑ์ในการประเมินความสุขในการเรียน, การจัดการการเรียนรู้ดิจิทัล, เทคโนโลยีดิจิทัล

บทคัดย่อ

            ในปัจจุบันโลกของเราประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะในภาคของการศึกษา เนื่องจากยังต้องมีการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามปกติ เพื่อให้เยาวชนในกลุ่มอายุวัยเรียนได้เข้าถึงการศึกษาได้ตามปกติ ภาคการศึกษาจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ โดยมีการใช้เครื่องมือดิจิทัลมาจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย จากการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ทำให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรม และอารมณ์ความรู้สึกของผู้เรียน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสวงหาความรู้ และสมาธิในการเรียน ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการเรียนรู้ดิจิทัล
ที่ส่งเสริมความสุขในการเรียน และเพื่อสร้างแนวทางในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมความสุขในการเรียน

            ผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ส่งเสริมความสุขในการเรียนของผู้เรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยปัจจัยด้านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อความสุขของผู้เรียนเป็นปัจจัยสูงสุดโดยมีค่าเฉลี่ย = 4.27 โดยถ้าระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี ทำให้ส่งผลต่อการติดขัดระหว่างการเรียนของผู้เรียนทำให้ฟังครูไม่รู้เรื่องหรือกลับเข้ามาไม่ทันเวลาเรียน ปัจจัยรองลงมาคือ ปัจจัยทางด้านความพร้อมและความหลากหลายของอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ย = 3.97 โดยผู้เรียนให้ความคิดเห็นว่า ในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน ถ้าเป็นชิ้นปฏิบัติที่ต้องทำผ่านเครื่องมือดิจิทัล การมีเครื่องมือที่แตกต่างจากผู้สอน การปฏิบัติงานจะทำให้ช้า เพราะเมนูหรือวิธีการทำแตกต่างกัน แต่โดยสรุปเมื่อถามถึงความสุขในการเรียนออนไลน์นักเรียนให้ความคิดเห็นว่ามีความสุขในการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย = 4.27 โดยผู้เรียนให้ความสำคัญในด้านของความสุขในการเรียนที่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

References

Kobsook, K. (2018). Digital Learning Tools : Ways of digital education era, Journal of Education Naresuan University (279). Naresuan University.

Panarj Ch. (2547). innovation management for executive. Bangkok : National Innovation Agency

Jaroon W. (2550). Education and progress technology. Bangkok : Wattana Panich. Penetrating consumer behavior in the digital era in the days when the “internet” can't lacking. (2562). Positioning.

Worawit N. (2551). Media and Innovation for education. Pathum Thani : skybooks.

Rattanaporn Th. (2557). Educational innovation Definition. From https://sites.google.com/site/sghurhoaiykghphgp/extra-credit.

Dieteren, K. (2011). TAM and trust in social media usage. Unpublished master’s thesis, University of Maastricht, Maastricht.

Banyaphon P. (2559). Digital Natives and M-Learning. searched on 5th May 2021 from https://www.digitaleagemag.com.

Lay Kee Ch’ng. (2019). Digital Natives Or Digital Immigrants. Searched on 5 May 2021 from https://elearningindustry.com/digital-natives-digital-immigrants

Atthaphon Th. (2561). Using Social Media to Promate Student Learning at Sri Songkhrom Industrial Technology College, Nakhon Phanom University. Nakhon Phanom University Journal (81). Nakhon Phanom University

Pipat A. (2017). The effects of using social network and active learning in the design and production of computer graphics course for undergraduate students. Journal of Education Naresuan University (145). Phitsanulok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-12-2021

How to Cite

ผิวงาม ส. (2021). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมความสุข ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 284–300. https://doi.org/10.53848/irdssru.v13i2.253602