ลักษณะครอบครัวและความรุนแรงในการอบรมเลี้ยงดูบุตร ของบิดาและมารดาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • หัทยา ขอสันติวิวัฒน์ คณะสถิติประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i1.254547

คำสำคัญ:

ความรุนแรง, การอบรมเลี้ยงดูบุตร, บิดาและมารดา, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมความรุนแรงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของบิดาและมารดา พร้อมกับวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ลักษณะส่วนบุคคลของเด็ก-ผู้เลี้ยงดู โครงสร้างและสถานะทางเศรษฐกิจ
ของครัวเรือน และการอบรมเลี้ยงดูที่มีต่อพฤติกรรมความรุนแรงในการอบรมเลี้ยงดูบุตร เป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2558-2559 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลมากกว่าในเขตเทศบาล ส่วนใหญ่อาศัย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ลักษณะส่วนบุคคลของเด็ก-ผู้เลี้ยงดู พบว่า เด็กในครัวเรือนเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง เด็กส่วนมากอายุระหว่าง 1 -10 ปี อายุของผู้ดูแลส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21- 40 ปี และระดับการศึกษาของผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า และระดับมัธยมศึกษา โครงสร้างและสถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือน พบว่า สถานะทางเศรษฐกิจ
ของครอบครัวไม่แตกต่างกัน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่มีประมาณ 3-6 คน รูปแบบบิดามารดาส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเลี้ยงคู่ และรูปแบบการสมรสของบิดามารดาส่วนใหญ่เป็นลักษณะการมีคู่ครองคนเดียว การอบรมเลี้ยงดู พบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่มีรูปแบบการเลี้ยงดูบุตรแบบเอาใจใส่มาก และผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการทำร้ายร่างกายในครอบครัว ผลการศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยความรุนแรงโดยรวม ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ ส่วนใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน คือ เพศของเด็ก อายุของผู้เลี้ยงดู ระดับการศึกษาของผู้เลี้ยงดู สถานะทางเศรษฐกิจ และรูปแบบการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มาก ตัวแปรที่ส่งผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยความรุนแรงโดยรวมมากที่สุดคือ รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่มาก และส่งผลต่อการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรุนแรงด้านร่างกายมากที่สุดเช่นกัน ในขณะที่ตัวแปรที่ส่งผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยความรุนแรงด้านจิตใจมากที่สุดคือ อายุของเด็ก แต่ไม่ส่งผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยความรุนแรงด้านร่างกาย ทั้งนี้ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยความรุนแรงทางด้านร่างกายเพียงด้านเดียว ในขณะเดียวกันรูปแบบการเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่น้อยเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้วยความรุนแรงทางด้านจิตใจเพียงด้านเดียวเช่นกัน

References

Baumrind, D. (1971). Types of adolescent life-styles. Developmental Psychology Monographs (In Thai).

Bograd, M. (1998). Feminist Perspective on Wife Abuse.

Chuykamchu, A. (2012). Family Violence: Causes, Effects, and Help Guides (In Thai).

Eshleman, J. R. (1994). Feminist Perspective on Wife Abuse. California: SAGE.

Maccoby, E. E., & Jacklin, C. N. (1980). Sex differences in aggression: A rejoinder and reprise. Child Development, 51(4), 964-980. doi:10.2307/1129535

Office of the National Human Rights Commission of Thailand. (2020). Moommongsit (Vol. 19).

Straus, M. A., Gelles, R. J., & Asplund, L. (1990). Physical violence in American families: Risk factors and adaptations to violence in 8,145 families. In Springer.

Thai Health Promotion Foundation. (2008). One Stop Crisis Center's data analysis report 2004-2007 (In Thai).

Wongsanga, T. (2000). Social and cultural motivations promoting parental violence in Bangkok. Chulalongkorn University (In Thai).

World Health Organization. (2002). World report on violence and health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-07-2022 — Updated on 30-06-2022

Versions

How to Cite

ขอสันติวิวัฒน์ ห. . (2022). ลักษณะครอบครัวและความรุนแรงในการอบรมเลี้ยงดูบุตร ของบิดาและมารดาในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(1), 160–174. https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i1.254547 (Original work published 1 กรกฎาคม 2022)