การจัดการการสื่อสารผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • อับดลรอหมาน หลังปุเต๊ะ นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิทยาธร ท่อแก้ว นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กานต์ บุญศิริ นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.254878

คำสำคัญ:

การสื่อสาร , การจัดการผลการดำเนินงาน , องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการสื่อสารผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เกี่ยวกับ 1) การวางแผนการจัดการการสื่อสาร 2) การดำเนินการการจัดการการสื่อสาร และ 3) แนวทางพัฒนาการจัดการการสื่อสาร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงผู้ที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาโดยตรง รวมจำนวน 13 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป

ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางแผนการจัดการสื่อสารผลการดำเนินงาน มุ่งเน้นการสื่อสารในแก้ปัญหาด้านความรู้ ทัศคติ พฤติกรรมของผู้รับสาร สำหรับการจัดการการสื่อสาร การมีส่วนร่วมของประชาชน การพัฒนาองค์กร และด้านงบประมาณการสื่อสารผลการดำเนินงานเป็นการวางแผนของฝ่ายผู้ส่งสาร โดยแผนการจัดการการสื่อสารจะสอดแทรกไปกับแต่ละนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการและกิจกรรม และจัดทำแผนการจัดการการสื่อสารผลการดำเนินงานโดยรวม ซึ่งมีคณะผู้บริหารที่มาจากการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำร่วมกันจัดทำแผน 2) การดำเนินการจัดการสื่อสารผลการดำเนินงาน  มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การกำหนดประเด็นสารผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการและกิจกรรม ซึ่งต้องสื่อสารผลงานอย่างต่อเนื่อง (2) วิธีการนำเสนอผ่านสื่อดั้งเดิม คือ สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร แผ่นป้าย การประชุมบุคลากร ประชุมแกนนำชุมชุน การปราศรัยในเวทีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาสัญจร รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และผ่านสื่อใหม่ทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก กลุ่มไลน์ และยูทูป (3) การจัดการคน เงิน โครงสร้างและเทคโนโลยีรองรับรับผิดชอบโดยกองวิชาการและแผนงาน (4) การประเมินผลการสื่อสารผลการดำเนินงานในแต่ละนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการ และกิจกรรมมุ่งเน้นการประเมินความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผลการดำเนินงานผ่านช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในการสื่อสารทุกช่องทาง  3) แนวทางพัฒนาการจัดการการสื่อสารผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  มี 3 ด้าน คือ (1) ด้านการออกแบบสารผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาต้องออกแบบสารให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย มีภาพ ข้อมูลที่สื่อความหมายชัดเจนเหมาะสมในแต่ละสื่อ ภาษาในการนำเสนอให้เหมาะกับกลุ่มผู้รับสารที่หลากหลายในพื้นที่ (2) ด้านวิธีการนำเสนอผ่านสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ต้องผ่านการสร้างสรรค์ที่ดีโดยนักผลิตสื่อมืออาชีพ ซึ่งอาจจะทำการว่าจ้างให้ผู้รับจ้างมืออาชีพมาดำเนินการ (3) ด้านการจัดการคนต้องพัฒนาทักษะผู้ปฏิบัติงานด้านการคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ การผลิตสื่อดิจิทัล ด้านเงินงบประมาณต้องจัดสรรไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการและกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และจัดสรรงบประมาณในภาพรวมสำหรับการสื่อสารขององค์กร ด้านโครงสร้างการทำงานต้องมีการกำหนดงานใหม่ เช่น งานสื่อดิจิทัล งานสื่อสังคมออนไลน์ งานสื่อมวลชนสัมพันธ์ ส่วนด้านเทคโนโลยีควรนำมาใช้ในการจัดการประเด็นสาร การออกแบบสื่อและการเผยแพร่ข่าวสารผลการดำเนินงานสู่สื่อมวลชน และสาธารณชนในรูปแบบถังข่าวผ่านเว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชัน

References

Department of Local Administration. (2005). Planning development for Department of Local Administration B.E.2548(2005). Retrieved from http://www.dla.go.th/work/e_book/eb3/eb3_4.pdf

Department of Local Administration. (2016). Planning development for Department of Local Administration B.E.2548(2005) rev B.E.2559(2016). Retrieved from http://www.dla.go.th/work/refer/reference5.pdf

Juthavijit, K. (2005). Communication for Local Development (2nd ed.). Bangkok: Nakhonpathom Rajabhat Institute (In Thai).

Legislative Institutional Repository of Thailand. (1955). Provincial Administration Act B.E.2498(1955). Retrieved from https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/13788

Office of Prime Minister. (2003). Royal Decree On Cirteria and Procedures for Good Governance, B.E.2546(2003). Retrieved from https://www.opm.go.th/opmportal//index.asp?langs=2&pageid=1594&parent=1594&directory=11377&pagename=viewlink1 (In Thai)

Office of the Council of state. (1997). Provincial Administrative Organization Act B.E.2540(1997). Retrieved from https://www.ocs.go.th/council-of-state/#/public/doc/VTJGc2RHVmtYMTlkMG5Bdk0vandTcjk0NGg4aHF2M0NyN0VBZk5WMGZnST0%3D

Office of the Council of state. (1999). Plan and Decentralization Process for Department of Local Administration Act B.E.2542(1999). Retrieved from https://www.ocs.go.th/council-of-state/#/public/doc/VTJGc2RHVmtYMTlkMG5Bdk0vandTZzVwM1JIL2hxN0VMcHpIUnQ0V2w1ND0%3D

Tokeaw, W. (2022). How to Become A Professional Publicist. Retrieved from https://www.stou.ac.th/thai/schools/sca/document/%A1%D2%C3%E0%BB%E7%B9%B9%D1%A1%BB%C3%D0%AA%D2%CA%D1%C1%BE%D1%B9%B8%EC%C1%D7%CD%CD%D2%AA%D5%BE.doc (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022

How to Cite

หลังปุเต๊ะ อ., ท่อแก้ว ว., & บุญศิริ ก. . (2022). การจัดการการสื่อสารผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2), 192–206. https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.254878