ปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i1.255082คำสำคัญ:
ปัจจัย, คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาประสิทธิผลการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู และปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามในสถานศึกษาข้างต้นทั้งสิ้น 67 โรงเรียน จำนวน 373 ฉบับ โดยจัดส่งแบบสอบถามไปยังสถานศึกษาจำนวน 373 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนจำนวน 373 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ100 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1.ระดับปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความสามารถในการบริหารงาน ด้านภาวะผู้นำ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการแก้ปัญหาและตัดสินใจ ด้านคุณธรรม จริยธรรมและด้านความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ตามลำดับ 2.ระดับประสิทธิผลการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีการปฏิบัติโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก และ 3.ปัจจัยคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความก้าวหน้าทางวิชาชีพและด้านภาวะผู้นำ ตามลำดับ
References
Bridgman, J. P. (2016). What happens when an inner-city English Primary school attempts to introduce a professional learning community. University of Leicester.
Chaisongkham, N. (2018). Strengthening educational professional learning communities in basic education Suphanburi Primary Educational Service Area Office District 1. Bangkok: Dhurakij Pundit University (In Thai).
Chukhamnerd, W. (2014). Community model of teaching professional learning to learning in the 21st century school context in Thailand. Songkhla: Prince of Songkhla University (In Thai).
DuFour, R., Eaker, R., & Many, T. (2013). Cultures built to last systemic PLCs at work. Bloomington: Solution Tree Press.
John Philip Bridgman. (2016). What happens when an inner-city English Primary school attempts to introduce a professional learning community. University of Leicester.
Kingkaew, C. (2018). Characteristics of educational institute administrators affecting the morale of teachers under Chachoengsao Primary Education Service Area Office 1. Chachoengsao: Rajabhat Rajanagarindra University (In Thai).
Luernoi, A. (2019). Professional learning community management model of international standard schools. Academic journal Thammatas, 19(3), 155-166 (In Thai).
McLaughlin, M. W., & Talbert, J. E. (2006). Building School-based Teacher Learning Communities : Professional Strategies to Improve Student Achievement. New York: Teachers College Press.
Office of the Basic Education Commission. (2011). Operational guidelines for participation in educational administration. Bangkok: Agricultural Cooperative Association of Thailand Limited (In Thai).
Panit, V. (2012). Creating Learning for Disciples in the 21st Century. Bangkok: Tathata Publication (In Thai).
Panit, V. (2016). Entertaining the teacher's life to the learning community. Siam Commercial Foundation (1st ed.). Nonthaburi: S.R. Printing Mass Products (In Thai).
Rattichot, S. (2018). Development of professional learning communities for classroom research of teachers in secondary schools Bangkok Under the Office of the Basic Education Commission: A Combined Research Methodology Methodology. Education Journal of Phuket Rajabhat University, 14(1), 245-268 (In Thai).
Sinthon, N., & Pasertpone, W. (2020). Management guidelines for community development of vocational learning of educational institutions under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1. JBER. Education journal and Buddhist research., 6(2), 27-36 (In Thai).
Teacher Professional Development Institute. (2019). Manual of professional education. Bangkok: TPDI (In Thai).
Wongyhai, V., & Phatphon, M. (2019). uality development of learning management according to the concept of professional learning community. Bangkok: Center for Innovation Leaders in Curriculum and Learning (In Thai).
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว