การศึกษาและการวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริม การตระหนักถึงคุณค่าเกี่ยวกับเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย โดยใช้การเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i1.255559คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน, เมืองศรีราชาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี และเพื่อสังเคราะห์แนวทางการส่งเสริม การตระหนักถึงคุณค่าเกี่ยวกับเมืองศรีราชา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการใช้การเรียนรู้แบบชุมชน การดำเนินวิจัยการใช้ทฤษฎีชุมชนเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายในงานวิจัยคือ นักเรียนที่ศึกษาชั้นมัธยมปลาย ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 70 คน โดยผู้วิจัยจะมีเกณฑ์ในการคัดเลือกนักเรียนต้องศึกษาชั้นมัธยมปลาย และอาศัยอยู่ในพื้นที่ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี เพื่อให้เกิดความผูกพันกับเมืองศรีราชา การเก็บรวมข้อมูลมาจากการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของเมืองศรีราชา และการสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับการตระหนักถึงคุณค่าของเมืองศรีราชา ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรก เก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่สองคือ การประเมินตนเองเกี่ยวกับการตระหนักถึงคุณค่าของเมืองศรีราชา ผลของการวิจัยพบว่า ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในการตระหนักถึงคุณค่าของเมืองศรีราชานั้น นักเรียนยังขาดความรู้ในข้อมูลสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น แต่สามารถที่จะระบุสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอำเภอเมืองศรีราชา และมีความภาคภูมิใจในคุณค่าของเมืองศรีราชา อย่างไรก็ตาม นักเรียนมีความผูกพันกับเมืองศรีราชาในระดับปานกลาง ในเรื่องการพัฒนาให้เมืองศรีราชามีความโดดเด่นทางด้านเศรษฐกิจ ปัญหาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า นักเรียนยังขาดการเชื่อมโยงกับชุมชนจึงจำเป็นที่จะต้องฟื้นฟูองค์ความรู้ของท้องถิ่นเพื่อสืบสานความเป็นเมืองศรีราชา
References
Gold, S. E. (2000). Community Organizing at a Neighborhood High School: Promises and Dilemmas in Building Parent-Educator Partnership and Collaboration. Dissertation Abstracts International, 60(7), 295-A.
janjamsai, M. (2015). Community Architecture Classroom Community Based Learning Case Study : Integration of Architectural Design Learning and low-income housing development (Baan Munkong : Project at Rama 9 Sump 3 Community). Area Based Development Research Journal, 7(3), 106-117 (In Thai).
Mahakhan, P. (2010). Sri Maharacha Company. Faculty of humanities and social sciences:Burapa University.
Na Talang, A. (1989). Inherit and Improve Cultural to Modern. Amarin Printing.
Nartsupha, C. (1997). Thai culture and the social change (4th ed.). Chulalongkorn University.
Siriphantana, C. (2014). The development of community-based programe on Thai folklore in hgher education. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree:Silpakorn University .
Wasee, P. (1993). Folk Wisdom and Rural Development. Amarin printing (In Thai).
Wongpaiboon, S. (1991). Southern Thailand Cultural Encyclopedia. The institute for southern Thai studies:Thaksin University (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว