การพัฒนาการให้บริการอาหารบุฟเฟ่ต์สำหรับธุรกิจภัตตาคารในรูปแบบวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • จุรีมาศ ชะยะมังคะลา คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • รัตน์ศริน แก้วตา คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.257138

คำสำคัญ:

อาหารบุฟเฟ่ต์, รูปแบบวิถีใหม่

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารรูปแบบ บุฟเฟ่ต์ในรูปแบบวิถีใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้เกิดความพอใจมากที่สุดและมีความประสงค์ในการศึกษารูปแบบการให้บริการอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการในธุรกิจภัตตาคารที่ให้บริการในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ โดยศึกษาจากพฤติกรรมของผู้บริโภค สภาพการแข่งขันในตลาดเพื่อพัฒนาภาพรวมและข้อเสนอแนะต่างๆในการปรับตัวของธุรกิจภัตตาคารที่ให้บริการในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารในรูปแบบบุฟเฟ่ต์ เพื่อศึกษาปัจจัยในการประกอบธุรกิจภัตตาคารที่มีการให้บริการอาหารบุฟเฟ่ต์ เพื่อนำเสนอการให้บริการอาหารบุฟเฟ่ต์สำหรับธุรกิจภัตตาคารในรูปแบบวิถีใหม่ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการให้บริการอาหารบุฟเฟ่ต์สำหรับธุรกิจภัตตาคารในรูปแบบวิถีใหม่ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ได้รูปแบบการให้บริการอาหารบุฟเฟ่ต์สำหรับธุรกิจภัตตาคารในรูปแบบวิถีที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือประชากรที่เคยใช้บริการอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์กลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 18- 45 ปี ในจังหวัดนนทบุรี

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการให้บริการอาหารรูปแบบบุฟเฟ่ต์ในยุค New Normal ที่อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 ชุด โดยในกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่มพึงพอใจการบริการที่ลูกค้าบริการตนเอง 122 คน คิดเป็นร้อยละ 30.5 และการบริการที่ให้พนักงานบริกาอาหารจำนวน 278 คน คิดเป็นร้อยละ 69.5 ซึ่งจากความคิดเห็นนี้ทำให้ผู้วิจัยทราบว่าในการบริการอาหารผู้ประกอบการบางรายที่ให้บริการในรูปแบบลูกค้าบริการตนเองต้องมีการปรับตัวเนื่องจากลูกค้าจะระมัดระวังเรื่องการสัมผัสอุปกรณ์ในการตักอาหารและการเดินตักอาหาร ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อในลูกค้าบางรายที่อาจติดเชื้อมาและยังไม่รู้ตัวว่ามีการติดเชื้อ

กระบวนการระหว่างใช้บริการ กลุ่มตัวอย่างต้องการให้ร้านมีบริการแฮลกอฮอลล์ให้ลูกค้าก่อนเข้ารับบริการ ร้านค้าควรทำความสะอาดพื้นที่นั่งและโต๊ะ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ก่อนทุกครั้งที่ลูกค้าจะเข้าใช้บริการ มีการจัดอุปกรณ์ต่างๆสำหรับการใช้บริการ อาทิเช่น จาน ช้อน ส้อม กระดาษเช็ดปาก และไม้จิ้มฟัน ด้วยการบรรจุในถุงปิดสนิทและจัดเป็นชุดให้ลูกค้า 1 คน ต่อ 1 ชุด วิธีนี้เป็นการสร้างความมั่นใจเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ในระดับหนึ่ง การบริการเครื่องดื่มกลุ่มตัวอย่างให้ความเห็นว่ายังคงเป็นรูปแบบของการไปเลือกที่บริเวณบริการเครื่องดื่ม เพื่อให้ลูกค้ามีอิสระในการเลือกเครื่องดื่มแต่ลูกค้าจะต้องสวมถุงมือและแสมทุกครั้งที่ได้เติมเครื่องดื่ม และบริเวณบริการเครื่องดื่ม ควรมีพนักงานยื่นบริการตักน้ำแข็งและกดเครื่องดื่มให้ และต้องมีภาชนะรองรับแก้วน้ำของลูกค้าเพื่อเป็นการลดการสัมผัสแก้วน้ำของลูกค้า

การแต่งการของพนักงานควรแต่งการให้ถูกต้องตามสุขอนามัยของพนักงานผู้เป็นผู้สัมผัสอาหาร และสวมแมสถุงมือตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน ซึ่งร้านอาหารควรใส่ใจเรื่องของการเปลี่ยนถุงมือของพนักงานให้เปลียนใหม่ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน

จากความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรายการอาหาร ควรเป็นรูปแบบของการใช้เทคโนโลยีในการรับรายการอาหาร เพื่อลดการเดินของพนักงานและลดระยะเวลาให้การบริการอาหารมีความรวดเร็วขึ้น

References

Kaewsiri, A. (2017). The process of making a decision to buy buffet food service. Independent research Master's degree, Chiang Mai Rajabhat University (In Thai).

Limluecha, W. (2021). New way of life Thailand after COVID. Retrieved from Office of the National Economic and Social Development Council: https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2020/PPT_Wisit.pdf (In Thai)

Lu, L., & Gursor, D. (2017). Would consumers pay more for nongenetically modified menu item? An examination of factor influencing diners’ behavioral intentions. Journal of Hospitality & Management, 26(3), 215-237.

Prasitdechsakul, P. (2020). Transforming businesses after the Covid-19 crisis. Retrieved from https://www.krungsri.com/bank/getmedia/578838c1-5ffc-47dd-ba5ff807bc86d248/RI_Post_Covid19_New_Normal_200716_TH.aspx (In Thai)

Rungsathaphon, T., & Stavethin, P. (2020). Consumer behavior towards online shopping during the COVID-19 crisis in Bangkok and Phitsanulok. Journal of Communication Arts, 39(2), 119-133.

Social development and human security office of nonthaburi. (2020). Retrieved from Demographics of Nonthaburi Province: https://nonthaburi.m-society.go.th/?page_id=4460 (In Thai)

Wongchinsri, T. (2018). Restaurant bible (1st ed.). Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022

How to Cite

ชะยะมังคะลา จ. . ., & แก้วตา ร. (2022). การพัฒนาการให้บริการอาหารบุฟเฟ่ต์สำหรับธุรกิจภัตตาคารในรูปแบบวิถีใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2), 39–60. https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.257138