แนวทางการบริหารจัดการเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาไมโครพลาสติกปนเปื้อน : การวิเคราะห์นโยบาย

ผู้แต่ง

  • ภารดี พันธุ์ศรีวรพงษ์ คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • วิสาขา ภู่จินดา คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.258027

คำสำคัญ:

ไมโครพลาสติก, พลาสติก, การบริหารจัดการ, การวิเคราะห์นโยบาย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวน วิเคราะห์นโยบาย มาตรการ แผนงานเกี่ยวกับไมโครพลาสติกปนเปื้อน และเสนอแนวทาง การบริหารจัดการเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาไมโครพลาสติกปนเปื้อน โดยการวิจัยเอกสารตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริโภค การแปรรูป จนถึงการกำจัดพลาสติก ตามด้วยการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการวิเคราะห์นโยบายผ่านตัวแบบการเมือง ตัวแบบเหตุผล ตัวแบบองค์การ แล้ววิเคราะห์ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ด้วย TOWS matrix เพื่อให้ได้
แนวทางการบริหารจัดการเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาไมโครพลาสติกปนเปื้อนให้เหมาะสมตามบริบทของประเทศไทยในเชิงรุก
เชิงแก้ไข เชิงป้องกัน และเชิงรับ

            ผลการศึกษาพบว่าทางเลือกนโยบายที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยเป็นการนำหลักการ 3 อย่าง คือ หลักการจัดการพลาสติกตลอดวงจรชีวิต หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และหลักการผู้ผลิตมีส่วนร่วม มาประยุกต์ใช้งานร่วมกันแล้วขับเคลื่อนไปพร้อมกันให้เป็นไปอย่างครอบคลุมในทุกประเด็น ทั้งนี้ได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก
ในแนวทางเชิงรุกคือ ประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่เป็นแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติก มีความชัดเจนในการมอบบหมายงาน และจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม เชิงแก้ไขคือ สร้างความเข้าใจให้ประชาชนเห็นผลกระทบด้านลบจากไมโครพลาสติกปนเปื้อน และเห็นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีบนคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เชิงป้องกันคือ สร้างโครงข่ายการจัดการขยะพลาสติกที่มีประสิทธิภาพ และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนปฏิบัติตาม และเชิงรับคือ สร้างการรับรู้เรื่องไมโครพลาสติก ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน และบุคลากรพร้อมปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามการดำเนินงานทุกอย่างต้องถูกเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่

References

Boujunaut, P. (2018). The Guideline for Community Waste Management by People’s Participation: A Case Study of Takon Sub-district Administrative Organization, Muangchan District, Srisaket Province. (S. R. University, Ed.) Journal of Humanities and Social Sciences , 20(2), 211-222 (In Thai).

Cole, M., Lindeque, P., Halsband, C., & Galloway, T. S. (2011). Microplastics as contaminants in the marine environment: a review. Marine pollution bulletin, 62(12), 2588-2597.

Ekchit, P., & Ruamkaew, S. (2019). Micro-plastics garbage on the west coast beach Phuket province. Environmental Journal, 23(2 (In Thai)).

Fendall, L. S., & Sewell, M. A. (2009). Contributing to marine pollution by washing your face: microplastics in facial cleansers. Marine pollution bulletin, 58(8), 1225-1228.

Jantarasorn, W. (2009). An integrated theory of public policy implementation. Bangkok: Thai University Researchers Association (TURA) (In Thai).

Marine and Coastal Resources Research Center. (2019). Microplastics study Central Gulf of Thailand. Retrieved from The Central Gulf of Thailand: https://www.dmcr.go.th/detailLib/4544 (In Thai)

Marine National Park Operation Center 3 Trang. (2019). Microplastics in the mackerel maw. Retrieved from https://news.thaipbs.or.th/content/284013 (In Thai)

Naksomsong, C. (2020). The Circular Economy, the way to Sustainable Development and the Role of Accounting. Journal of Accountancy and Management, 12(3), 157-172 (In Thai).

Napper, I. E., Bakir, A., Rowland, S. J., & Thompson, R. C. (2015). Characterisation, quantity and sorptive properties of microplastics extracted from cosmetics. Marine pollution bulletin, 9(1-2), 178-185.

National Metal and Materials Technology Center. (2017). What is plastic? Retrieved from https://www.mtec.or.th/bio-plastic/what-is-plastic/whatisplastics.html (In Thai)

National Oceanic and Atmospheric Administration [NOAA]. (2021). What are Microplastics? Retrieved from https://oceanservice.noaa.gov/ facts/microplastics.html

Neatsingsang, K., & Klomjek, P. (2020). Microplastic Contamination in Surface Water and Fish of Bueng Boraphet Wetland, Nakhon Sawan Province. Thesis M.S. in Environmental Science, Naresuan University (In Thai).

Saelee, P., Wongsoonthornchai, M., & Phasukphan, N. (2021). The Contamination of Microplastics in Mussel (Mytilus edulis), and Oyster (Crassostrea gigas): A Case Study from a Fish Market, Chonburi Province. Burapha Science Journal, 26(3), 1726-1744 (In Thai).

Srisung, P., & Chompunth, C. (2020). Waste Management According to the Sustainable Development Goal 12: A Case Study of Chang Island in Trat Province. Local Administration Journal, 13(4), 379-400 (In Thai).

Thomrongajariyakul, J. (2017). Botkhwām parithat [Essence of Decision: Explaining the Cuban Missile Crisis Graham T. Allison (1971)]. ournal of Humanities and Social Sciences, 5(1), 119-123 (In Thai).

United Nations Environment Programme (UNEP). (2015). PLASTIC IN COSMETICS.

Warnphen, H. (2019). Life Cycle Assessment of Concrete Bricks using Waste Glass as Aggregate Replacement for an Alternative Management of Waste Glass on Koh Sichang. The 20th National Graduate Research Conference . Chonburi Province (In Thai).

Woottimetee, Y., & Piromthong, S. (2015). Solid Waste Management in the communities of Ayutthaya City Municipality. Journal of Social Academic, 8(2), 7-29 (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022

How to Cite

พันธุ์ศรีวรพงษ์ ภ. ., & ภู่จินดา ว. . (2022). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาไมโครพลาสติกปนเปื้อน : การวิเคราะห์นโยบาย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2), 151–175. https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.258027