การพัฒนาตัวบ่งชี้ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา

ผู้แต่ง

  • ศศิวิมล ศรีนวล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐกานต์ ประจันบาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

DOI:

https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.258045

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

        

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา  ผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนาตัวบ่งชี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยและประเมินทางการศึกษา  3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญในสาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา 2 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญในสาขาหลักสูตรและการสอน 2 ท่าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย 4 ภูมิภาค จาก 4 สถาบัน รวม 280 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา มี 5 องค์ประกอบ 14 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบความคล่องแคล่วด้านความคิด ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การคิดเชิงบวก ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ องค์ประกอบความคล่องแคล่วด้านบุคคล ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และความยืดหยุ่นทางอารมณ์ องค์ประกอบความคล่องแคล่วด้าน การเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง ความใฝ่รู้ และการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบความคล่องแคล่วด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ประสิทธิผล แรงบันดาลใจในการทำงาน และการปรับตัวในการทำงาน และองค์ประกอบการตระหนักรู้ในตนเอง ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การรับรู้อารมณ์ตนเอง การประเมินตนเองได้ตามความเป็นจริง และความมั่นใจในตนเอง

2. โมเดลที่สร้างขึ้นมีค่าสถิติที่ได้จากการวิเคราะห์ ดังนี้  = 48.108, P = 0.2072, df = 41, CFI = 0.994, TLI = 0.997, SRMR = 0.025 และ RMSEA = 0.025 หมายความว่า โมเดลที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.592 - 0.966 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า โมเดลที่สร้างขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง

References

Burke, W. W., Roloff, K. S., & Mitchinson, A. (2016). Learning agility: A new model and measure. White Paper, Teachers College, Columbia University.

De Meuse***, K. P., & Feng, S. (2015). The development and validation of the TALENTx7 Assessment: A psychological measure of learning agility. Shanghai, China: Leader’s Gene Consulting.

De Meuse**, K. P., Dai, G., & Hallenbeck, G. S. (2010). Learning agility: A construct whose time has come. Consulting Psychology Journal: Practice and Research, 62(2), 119.

De Meuse*, K. P. (2017). Learning agility: Its evolution as a psychological construct and its empirical relationship to leader success Research. Consulting Psychology Journal: Practice and, 69(4), 267.

De Meuse, K. P., Dai, G., Zewdie, S., Page, R. C., Clark, L. P., & Eichinger, R. W. (2011). Development and validation of a self-assessment of learning agility. Chicago, Illinois: Paper presented at the Society for Industrial and Organizational Psychology Conference.

Hallenbeck, G., Swisher, V., & Orr, J. E. (2011). Seven faces of learning agility-Smarter ways to define, deploy, and develop high-potential talent. Korn Ferry Institute.

Lombardo, M. M., & Eichinger, R. W. (2000). High potentials as high learners. Human Resource Management, 39, 321-329.

Office of the Higher Education Commission. (2008). The framework of the 15-year Higher Education Plan, No. 2 (2008 – 2022). (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House (In Thai).

Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). National Strategy 2018 – 2037. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91-cRrNsEV/view (In Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2021). The framework of the National Economic and Social Development Plan, No. 13. Retrieved from https://www.ldd.go.th/PDF/ DevelopmentPlanNo.13.pdf (In Thai)

Petor, J. (2018). MEASURING LEARNING AGILITY TO PREDICT JOB PERFORMANCE AND LEADERSHIP SUCCESS. Retrieved from https://content.psionline.com/hubfs/Talent%20Management%20White%20Papers/WP_PSI%20Measuring%20Learning%20Agility%20Leadership%20Success.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022

How to Cite

ศรีนวล ศ., & ประจันบาน ณ. . (2022). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความคล่องแคล่วในการเรียนรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 14(2), 176–191. https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.258045