การดำเนินการตามอนุสัญญาไซเตสว่าด้วยปัญหาการค้าสัตว์ป่าของไทย
DOI:
https://doi.org/10.53848/irdssru.v14i2.259594คำสำคัญ:
การค้าสัตว์ป่า , การลักลอบค้าสัตว์ป่า , อนุสัญญาไซเตส , กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่า , การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการค้าสัตว์ป่า (2) ศึกษาหลักกฎหมายไทยตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ที่เกี่ยวกับการควบคุมการค้าสัตว์ป่า (3) ศึกษาถึงการควบคุมการค้าสัตว์ป่าตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) รวมถึงหลักกฎหมายของประเทศแคนาดา โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทยตามพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 (4) ศึกษาถึงปัญหาข้อบกพร่องของกฎหมายไทยในการบังคับการตามอนุสัญญาไซเตส (CITES) (5) เพื่อสังเคราะห์แนวทาง องค์ความรู้ใหม่ และวิธีการในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไทยในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมการค้าสัตว์ป่าตามบัญชีของอนุสัญญาไซเตส (CITES)
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยจากเอกสารจาก พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 กฎกระทรวง ประกาศ ข้อบังคับ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ เอกสารออนไลน์ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลให้เป็นระบบซึ่งเป็นส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้วิจัยทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในเรื่องการควบคุมการค้าสัตว์ป่าตามบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาไซเตส (CITES)
ผลของการศึกษาพบว่า (1) การควบคุมการค้าสัตว์ป่าเป็นหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสัตว์ป่าถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งในการช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศ หากไม่มีการควบคุมจะทำให้ชนิดพันธุ์บางชนิดที่เป็นที่ต้องการในตลาดนั้นสูญพันธุ์ไป เนื่องจากอัตราการบริโภคของมนุษย์ที่มีสูงเกินกว่ากำลังของธรรมชาติที่จะผลิตได้ และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ การฟื้นฟูและเยียวยาระบบนิเวศเมื่อสูญเสียไปแล้วทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง (2) แม้ประเทศไทยจะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาไซเตส มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 รวมถึงมีการออกกฎหมาย และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหลายครั้ง ทำให้ชนิดพันธุ์ตามที่ได้กำหนดไว้ในบัญชีรายชื่อท้ายอนุสัญญาฯ ได้รับความคุ้มครอง แต่ชนิดพันธุ์เหล่านั้นกลับไม่ได้รับความคุ้มครองภายในประเทศเท่าที่ควร โดยที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ไม่สามารถคุ้มครองการค้าสัตว์ภายในประเทศได้ ทุกชนิดพันธุ์ตามที่ได้กำหนดไว้ในบัญชีรายชื่อท้ายอนุสัญญา (3) จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าประเทศแคนาดามีกฎหมายที่เป็นกฎหมายควบคุมการค้าสัตว์ป่าทั้งการค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้การบังคับการตามอนุสัญญาไซเตสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แม้อนุสัญญา ไซเตสมิได้กำหนดหลักการเกี่ยวกับการค้าภายในประเทศซึ่งชนิดพันธุ์ตามบัญชีท้ายอนุสัญญาโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามมาตรา 8 ของอนุสัญญาไซเตสได้กำหนดมาตรการที่ภาคีต้องถือปฏิบัติ โดยกำหนดให้รัฐที่เป็นภาคีสมาชิกจะต้องกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาดังกล่าวด้วย เพื่อทำให้การบังคับการตามอนุสัญญาฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (4) พบว่าประเทศไทยยังคงบัญญัติกฎหมายไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาไซเตสหลายประการ เช่น รายการชนิดพันธุ์สัตว์ป่าที่ไม่สอดคล้องกับไซเตส และการไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมการค้าภายในประเทศไทยสำหรับสัตว์ตามบัญชีรายชื่อของไซเตส เป็นต้น (5) ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการค้าสัตว์ป่าภายในประเทศให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญาไซเตส และเพื่อให้การบังคับการตามอนุสัญญาไซเตสเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
References
Chaiakaraphong, N. (2020). Wildlife Trafficking in Thailand: Law Enforcement Problems and Challenges. Journal of Thai Justice System , 13(3), 21–36 (In Thai).
Cooke, J. (2004). Law of Torts (6th ed.). Longman.
Laoprasert, M. (2003). A Guide to the Convention on International Trade in Endangred Species of Wild Fauna and Flora (CITES). Bangkok: Wildlife Protection Division Wildlife Conservation Office ,Department of National Parks (In Thai).
Laoprasert, M. (2021). Attitudes about CITES. Bangkok: Wildlife Protection Division Wildlife Conservation Office ,Department of National Parks (In Thai).
Lyengar, N. (2016). CITES CoP17: Making it a Success. Columbia University.
Moore, P., Prompinchompoo, C., & Beastall, C. (2016). A review of the legal regime governing the tradein great apes and gibbons and other CITES-listed species. Traffic Report.
Peiris, O. (2020). CITES related Laws against Illegal Wildlife Trade in Thailand. Academia.
Pynn, L. (2014). Ottawa pressured to stop trans-shipments of whale meat. Canadian News Channel.
Suknakorn, T. (2006). Tiger Trade Conrol Of Thailand. Thammasat University (In Thai).
Sumanthakul, T. (2015). Punitive Damages. Office of the Council of State (In Thai).
Whatt, T. (2020). Canada and The Convention on International Trade in Endangred Species of Wild Fauna and Flora (CITES): Lessons Learned on Implementation and Compliance. Liverpool Law Review.
Wijnstekers, W. (2011). The Evolution of CITES (9th ed.). International Council for Game and Wildlife Conservation.
Zain, S., Oldfield, T., Compton, J., & Broad, S. (2019). CITES CoP18: Facing the challenges of the post-2020 global biodiversity framework (Vol. 3). TRAFFIC Bulletin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว